วันพุธที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2563

ตอน มิติลี้ลับ

ตอน มิติลี้ลับ
บรรยากาศเงียบสงัดยามดึกแบบนี้มีสายลมแผ่วเบาพร้อมแสงไฟสลัวๆ ผ่านมาแบบนี้เฮียว่าเรามาเล่าสู่กันฟังเรื่องลี้ลับกันดีกว่าครับเรื่องนี้เป็นเรื่องของเพื่อนร่วมงนเฮียแต่ดันมาเกี่ยวกับเฮียเพราะหน้าที่เฮียตอนนั้นรับผิดชอบรอบดึกทั้งระบบเรื่องมันเริ่มขึ้นเมื่อยามดึกคืนหนึ่งในขณะที่เฮียกำลังตรวจ Rate ราคาค่าห้องเพื่อไม่ให้ผิดพลาดก่อน Close Day น้อง Room Service ที่มันเสร็จงานแล้วก็เดินมาคุยด้วยตอนนั้นเป็นเวลาประมาณ ตี 2 ปกติส่วนใหญ่เวลาเสร็จงานในครัวน้องมันก็จะเดินมาคุยเล่นกับเฮียบ่อยๆ เพราะรอบดึกมีกันอยู่ไม่กี่คน
ช่วงนั้นโรงแรมที่เฮียทำงานยังไม่เป็นเต็มตัวเป็นเพียงแค่ Soft Opening บางวันโรงแรมก็มีแขกบ้างบางวันก็ไม่มีเลยสักห้องเดียว (สถานการณ์หนักไปทางอย่างหลังมากกว่านะ) ก็เป็นธรรมดาของโรงแรมช่วงนี้ที่เปิดให้แขกทดลองใช้บริการแบบยังไม่ Full Service แลกกับส่วนลดค่าห้องที่สูงต้องบอกก่อนว่า Resort เฮียมันแบ่งเป็นสองส่วนคือส่วนของ Villas และส่วนของห้องพักทั่วไปตอนนั้นมี Order Room Service ที่น้องมันไปส่งที่ส่วนของห้องพักทั่วไปแต่มันต้องขับรถผ่านส่วนของ Villas ก่อนซึ่งสองข้างทางใน Zone นี้จะมีต้นไม้ประดับอยู่ทั้งไม้ใหญ่ไม้เล็กกลางวันมันจะดูร่มรื่นสบายตาสบายใจส่วนเย็นๆ โพล้เพล้ๆ ถ้าแขกน้อยๆ มันก็จะดูวิเวกวังเวงโหวงเหวงหน่อยและถ้าแขกน้อยๆ ในยามดึกนี่ก็ไม่ต้องพูดถึงเลยเงียบมากบรรยากาศมันได้จริงๆ คืนนั้นน้องมันเดินมาแล้วก็นั่งคุยกัน
ทีนี้อยู่ๆ น้องมันก็พูดขึ้นมาว่า “พี่เมื่อกี้ผมเดินไปส่ง Room Service ที่ตึกเห็นมีแขกผู้หญิงฝั่ง Villas คนนึงยืนหันหลังอยู่หน้าห้องไม่รู้เค้าจะเอาอะไรหรือเปล่านะพี่ลองไปดูแขกหน่อยมั้ยพี่” พอมันพูดเสร็จเฮียก็เช็คในระบบเพื่อความแน่ใจแต่ตอนนั้นเริ่มเอะใจเพราะเท่าที่รับรอบมาจำได้ว่าส่วนของ Villas มันไม่มีแขกเลยโรงแรมมีแขกฝั่งห้องพักทั่วไปแค่ห้องเดียวเฮียก็เปิดโปรแกรม “อีปิ๊ตัวแม่” ขึ้นมา Check ก็ปรากฏว่ามันไม่มีแขกใน Villas นี้จริงๆ แต่ก็เพื่อความชัวร์เราไปดูใน Log book อีกทีดีกว่ากันเหนียวเผื่อบางทีรอบบ่ายลืม C/I ในระบบปรากฎว่ามันไม่มีแขกจริงๆ ทีนี้ก็เลยหันไปถามน้องมันว่า “เอ็งเห็นที่ Villas ไหนวะ?” น้องมันก็บอกเบอร์มาสารภาพตามตรงเลยว่าตอนนั้นเฮียยังไม่ได้คิดถึงสิ่งที่มองไม่เห็นนะแต่คิดไปถึงเรื่องคนนอกที่แอบเข้ามาในโรงแรมมากกว่าเพื่อให้หายสงสัยเฮียก็เลย ว. หา รปภ. ให้ไปดูหน้า Villas นั้นและเดินสำรวจส่วนของ Villas และในโรงแรมอีกทีถ้ามีอะไรก็ให้มาแจ้ง
รปภ.ก็หายไปประมาณ 30 นาทีแล้วก็เดินขึ้นมาบอกเฮียว่า “เช็คเรียบร้อยครับไม่เจออะไรเลย” เฮียก็เลยหันไปถามน้อง Room service ว่า “เอ็งเห็นแขกจริงเหรอวะเพราะวันนี้ฝั่ง Villas เราไม่มีแขกเลยนะแล้วตอนนี้ก็ตี 2 กว่าแล้วแขกฝั่งนี้ไม่น่าเดินไปฝั่ง Villas นะ” คราวนี้น้องมันเริ่มนิ่งหน้าตาเริ่มเหวอออกแล้วมันก็บอกเฮียมาเสียงอ่อยว่า “วันนี้เรามีแขกห้องเดียวใช่มั้ยเฮีย” เฮียก็ตอบว่า “เออ...ใช่อีกห้อง No Show ไปแล้วเค้าไม่มา” มันก็ตอบกลับมาว่า “ตอนที่ผมไปส่งอาหารแขกห้องนี้เป็นผู้ชาย-ผู้หญิง 2 คนผมจำได้ว่าแขกผู้หญิงที่เห็นฝั่ง Villas ไม่ใช่คนที่อยู่ห้องนี้แน่นอนเฮีย” จบประโยคนี้บรรยากาศบริเวณนั้นทั้งเฮีย รปภ. เงียบกริบกันหมดทุกคนจนอยากจะเอื้อมมือไปเปิดเพลงพี่เต๋าจริงๆ “ต่างคนต่างพูดไม่ออก ได้แต่มองตาเท่านั้น” เอาจริงๆ เฮียก็ไม่อยากจะถามอะไรมันต่ออ่ะนะแต่ก็ยังติดใจเรื่องคนนอกเข้ามาซึ่งมันก็ไม่น่าจะเป็นไปได้เพราะให้ รปภ. Check CCTV ย้อนหลังดูตั้งแต่ 6 โมงเย็นแล้วก็ไม่มีอะไรผิดปกติ


แล้วสรุปคนที่น้อง Room Service มันเจอหน้า Villas หลังนั้น “เธอเป็นใครกันแน่???”
ติดตาม IG ได้ที่ >>> IG: pop.hotelman

วันศุกร์ที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2563

ลงทะเบียนฟรี!!!
เฮียอยากให้แฟนเพจทุกท่านลงทะเบียนเรียนกันครับ 😊😊😊
เพื่อเตรียมความพร้อมกับอนาคตของอุตสาหกรรมโรงแรมและการท่องเที่ยวของพวกเราที่จะไม่มีอะไรเหมือนเดิมอีกต่อไป
วันนี้เฮียมีคอร์สดีๆ จาก "การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย" ร่วมกับ "Skooldio" จัดอบรมคอร์สสำหรับผู้ประกอบการโรงแรมหรือบุคคลากรและผู้ที่สนใจในธุรกิจโรงแรมได้เข้ามาอบรมกันฟรีในช่วงนี้นะครับเป็นหัวข้อที่น่าสนใจและสามารถนำไปปรับใช้ได้จริง อาทิ
1. ทำอย่างไรให้ลูกค้าเข้าพัก?
2. เข้าถึงลูกค้าด้วยการตลาดสมัยใหม่ (อันนี้น่าสนใจมาก)
3. สร้างประสบการณ์ที่ดีอย่างประทับใจ
4. สร้างทีมงานบริการด้วยใจ
5. ขับเคลื่อนธุรกิจด้วยการเงินที่เข้มแข็ง (อันนี้ก็สำคัญ)
อย่างที่เรารู้กันดีว่าธุรกิจโรงแรมตอนนี้โดนท้าทายอย่างหนักจากวิกฤติ COVID-19 ทำให้เจ้าของโรงแรม ทีมบริหาร และพนักงานโรงแรมหลายๆ คนต้องสูญเสียอาชีพและหน้าที่การงานไปจากวิกฤตนี้แน่นอนว่าเราไม่สามารถกลับไปแก้ไขอดีตได้แต่เราสามารถวางแผนสำหรับอนาคตได้เฮียยังเชื่อมั่นว่ายังไงธุรกิจการโรงแรมและการท่องเที่ยวจะไม่มีวันสลายไปอย่างแน่นอนเพียงแต่รอเวลาที่นักท่องเที่ยวจะได้รับอนุญาตให้เดินทางท่องเที่ยวเหมือนเดิมอีกครั้งเท่านั้นแต่ ณ ตอนนี้สิ่งสำคัญที่สุดคือการ "เพิ่มพูนความรู้ใหม่ๆ" เพื่อนำไปใช้วางแผนรับมือกับอุตสาหกรรมโรงแรมแห่งอนาคตที่จะไม่มีอะไรเหมือนเดิมอีกต่อไปและยังถือเป็นอีกโอกาสในการรวบรวมข้อมูลก่อนตัดสินใจว่าจะยังคงเดินหน้ากับธุรกิจโรงแรมนี้ต่อไปหรือไม่?
ลงทะเบียนกันได้เพียง Scan QR Code ในรูปนะครับหรือกด Link นี้ >>> https://www.tinyurl.com/hoteliertat <<<< อยากให้เข้าเรียนกันนะครับเนื้อหาดีและนำมาใช้ได้จริงๆ ที่สำคัญเป็นคอร์สจากหน่วยงานด้านการท่องเที่ยวอย่าง ททท. โดยตรงด้วยนะ


วันพฤหัสบดีที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2563

อีกหนึ่งความท้าทายในสายอาชีพการโรงแรม
ยอมรับตรงๆ ว่าส่วนตัวไม่เคยคิดว่าชีวิตการทำงานในวงการโรงแรมของตัวเองจะต้องมาเจอกับวิกฤติที่สะเทือนไปทั้งโลกขนาดนี้มาก่อนนับตั้งแต่วันแรกที่โรคไวรัสปอดอักเสบได้ถูกเปลี่ยนขื่อเป็น COVID-19 และถูกประกาศให้เป็นโรคแพร่ระบาด (Pendamic) จากองค์การอนามัยโลกนับจากวันนั้นจนถึงวันนี้ผลกระทบต่ออุตสาหกรรมโรงแรมของโรคระบาดนี้มีแต่จะทำให้สถานการณ์เลวร้ายลง
จากหนึ่งเดือนเป็นสองเดือน สามเดือน สี่เดือนและ ณ ขณะนี้เป็นเวลากว่าครึ่งปีแล้วสถานการณ์ในประเทศไทยและบางประเทศทั่วโลกค่อยๆ ดีขึ้นตรงข้ามกับบางประเทศที่แย่กว่าเดิมแต่สำหรับอุตสาหกรรมโรงแรมยังคงมีทีท่าว่า “ไม่น่าจะฟื้นตัว” ในระยะเวลาอันใกล้นี้ต่อไป
ในฐานะมนุษย์ปุถุชนธรรมดาแม้จะรักในอุตสาหกรรมในธุรกิจนี้แค่ไหนแต่คนเราเมื่อเข้าใกล้คำว่า “ไม่มีจะกิน” การมองหาสิ่งใหม่ที่ดูจะเป็นทางออกเพื่อปากท้องที่ดีกว่าย่อมเกิดขึ้นได้บางคนยังสามารถอดทนต่อสู้ฟันฝ่าเพื่อรอวันกลับมาสดใสอีกครั้งของอุตสาหกรรมโรงแรมแต่บางคนด้วยต้นทุนที่จำกัดทำให้ไม่สามารถรอได้นานขนาดนั้น
ประเด็นที่สำคัญที่เราต้องถามตัวเองก่อนตัดสินใจซึ่งเป็นจุดที่ยากลำบากคือ “มันถึงเวลาของเราหรือยัง?” บางคนสามารถตัดสินใจได้ง่ายว่าจะออกไปในเร็วๆ นี้ด้วยเหตุผลด้านปัญหาในงานและความคิดที่รู้สึกว่าถูกเอาเปรียบจนเกินกว่าความเป็นจริงจากนายจ้าง เช่น ให้มาทำงานแต่ไปรับเงินกับประกันสังคม หรือ บีบให้สมัครใจลาออก เป็นต้น แต่บางคนที่ยังอยู่ในสถานการณ์ที่ดีกว่าทั้งได้รับการดูแลที่ดีจากนายจ้างแต่เมื่อมองอนาคตแล้วรู้สึกว่าว่าสถานการณ์ดีๆ แบบนี้ไม่น่าจะอยู่อีกนานครั้นจะลาออกมาก็ยังรู้สึกลังเล
สุดท้ายการท่องเที่ยวยังไงก็ยังคงอยู่คู่กับมนุษย์ต่อไปแต่สิ่งที่จะเกิดขึ้นคือ “การเปลี่ยนไปของ supply chain” ต่างๆ ในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวที่ต้องปรับให้สอดคล้องกับพฤติกรรมผู้บริโภคไปเรื่อยๆ ไม่แน่ว่าอนาคตเราอาจไม่ได้เห็นการแบ่งระดับโรงแรมและให้ความสำคัญกับดาวอีกต่อไปหรือเราอาจจะได้เห็นรูปแบบการให้บริการใหม่ๆ ที่ไม่จำเป็นต้องมีตำแหน่งงานมากเท่าระบบโรงแรมในปัจจุบันนี้ก็ได้แต่วันนั้นจะมาถึงเมื่อไหร่คงไม่มีใครบอกเราได้เพราะ “อนาคตคือสิ่งไม่แน่นอน”


วันพฤหัสบดีที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2563

Hotel Man Review EP. 2
Sunrise Cafe'
"ร้านกาแฟที่ไม่ใช่แค่ทางผ่าน...อยากหาขนมญี่ปุ่นโบราณทานเชิญที่นี่"
สำหรับใครที่ชอบร้านกาแฟแบบบรรยากาศเหมือนนั่งอยู่บ้านวันนี้เฮียมีร้านกาแฟที่เข้าไปนั่งกินแล้วเหมือนนั่งอยู่บ้านตัวเองเลยครับถ้าเอาเสื่อมาปูนอนนี่ก็ใช่เลยใครที่มี Program มาเที่ยวพัทยาแล้วอยากหาร้านกาแฟบรรยากาศดีๆ เติมพลังก่อนเข้าเมืองเป็นอีกที่ที่เฮียแนะนำครับ


1. Concept ร้านอันนี้ชอบในความตั้งใจและทำร้านออกมาจากความรักและ Passion จริงๆ จากที่ได้ยืนคุยกับเจ้าของร้านได้ความว่า "ทั้งสองคนชอบไปเที่ยวญี่ปุ่นและมีความชอบในการทำเค้กทำขนมก็เลยไปเรียนแล้วก็มาเปิดร้าน" อันนี้จึงเป็นที่มาของการบริการที่เป็นกันเองตอนเฮียนั่งกินเจ้าของก็จะคอยมาถามเสมอว่า "รับอะไรเพิ่มไหมครับ" ตอนแรกกะจะบอกว่า "รับยาช่องไหนครับ" ผ่ามมมม!! แต่ไม่กล้าเล่นเดี๋ยวไม่ฮา



2. ร้านมีสองส่วนคือด้านนอกนั่งกินมองวิวถนนรถผ่านไปผ่านมากับด้านในที่เปิดประตูเข้ามาจะเป็นเหมือนห้องโถงของบ้านทั่วไปถ้าไม่เกรงใจเจ้าของก็เอาเสื่อมาปูนอนได้เลยจะได้ Felling เหมือนอยู่บ้านเข้าไปอีก
3. การเดินทางถ้ามาจากกรุงเทพใช้เส้นถนนสุขุมวิทขาเข้าพัทยาพอเลยแยกวัดสว่างฟ้ามาก็จะเจอกับปั้มน้ำมัน Shell (นั่นกูโฆษณาให้ปั้มเค้าอีก) ร้านอยู่เลยปั้มมานิดเดียวส่วนคนพัทยาถ้าอยากไปเที่ยวก็ตามนั้นเลยครับ






4. ความพิเศษของที่นี่นอกจากการตกแต่งซึ่งก็แน่นอนหลายๆ Cafe เค้าก็ต้องขายตรงนี้เป็นหลักแต่ที่นี่มีอีกอย่างที่เฮียชอบนะคือ "เจ้าของร้านเค้าสามารถทำขนมญี่ปุ่นโบราณที่หากินไม่ค่อยได้แล้ว" มาให้เรากินได้ด้วยอันนี้แหละที่เฮียชอบส่วนการตกแต่งเน้นสีฟ้าสดในมีการเล่นกับจุดกึ่งกลางของร้านด้วย...เอิ่มมมม จะเรียกอะไรดีวะ?? โคมไฟก็ไม่น่าจะใช่? มันเป็นแบบฟรุ้งฟริ้ง วิบวับๆ แต่คงไม่กล้าเดินไปจ้าบบบ เดี๋ยวมันจะแตก
5. สำหรับเมนูเฮียสั่งเมนู Signature กาแฟของร้านชื่อ...(อยากรู้ลองไปถามเค้าดูออกสื่อไม่ได้ อิอิ) กับขนมโมจิหยดน้ำ (Raindroop Cake) และเนทูล่าชีสเค้ก (Nutella Cheesecake)
ปล. เจ้าของร้านดูแลดีมากครับขอบคุณสำหรับ Complimentary เก๊กฮวยร้อนที่นำเสนอให้มาทานคู่กับ "โมจิหยดน้ำ"
ปล. อีกที Review นี้เฮียให้โชคนะในนี้มีเลขอยู่ 3 ตัวไปรวมกันเอานะอย่าลืม 16 นี้จัดไป

วันอังคารที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2563

ODAIBA

Hotel Man Review EP. 1
ODAIBA Pattaya ร้านบุฟเฟ่ต์อาหารญี่ปุ่นที่ "ราคาและคุณภาพพอดีกัน"
สำหรับใครที่อยู่พัทยาหรือเดินทางมาท่องเที่ยวที่ "พัทยา" และชื่นชอบการทานอาหารญี่ปุ่นโดยเฉพาะสายบุฟเฟ่ต์วันนี้เฮียมีร้านอาหารญี่ปุ่นซึ่งเฮียไปทานเป็นประจำและคิดว่าเป็นอีกร้านหนึ่งที่น่าแนะนำเพราะส่วนตัวมองว่า "ราคากับคุณภาพอาหารเหมาะสมกันดี" เอาล่ะเราไปเริ่มรีวิวทีจะจุดกันเลยนะ


1. ที่จอดรถก็ตามริมถนนนอกจากนี้เค้าก็มีซอยเล็กๆ ข้างร้านมีป้ายติดว่า "ที่จอดรถสำหรับลูกค้าร้านโอไดบะ" ด้วยนะแต่ต้องสังเกตุดีๆ ระวังเลย
1.1 การเดินทางก็ไม่ยากร้านตั้งอยู่ติดริมถนนเห็นง่ายครับร้านอยู่ถนนพัทยาเหนือทางไปนาเกลือพอ “วนขวาทักษิณาวรรต” ก็เข้าโบสถ์ได้เลย เอ้ยไม่ใช่ๆ !! วนขวาตรงวงเวียนปลาโลมาขับเลยโรงแรมดุสิตฯ โรงแรมวู๊ดแลนด์ มาสักพักร้านจะอยู่ซ้ายมือแต่ถ้ามาจากอีกทางร้านก็จะอยู่ขวามือ (แค่นั้นแหละไม่มีอะไรอยากบอกเฉยๆ ผ่ามมม!!)
2. นอกจากบุฟเฟ่ต์แล้วเค้าก็มีอาหารประเภทเป็น Set หรือ A la cart ให้ด้วยนะครับวัตถุดิบก็สด สะอาด รสชาติดี (เรื่องรสชาตินี้ขอเป็นเรื่องส่วนบุคคลละกันนะลิ้นใครลิ้นมันแต่สำหรับเฮียคืออร่อยดีครับ) อาหารมีหลากหลายเค้ามีบุฟเฟ่ต์ 2 ราคาคือ 599 กับ 899 บาท ส่วนตัวเฮียกินแต่ 599 เพราะ 899 บาทจะมีพวกเนื้ออื่นๆ มาเพิ่มเติมซึ่งเฮียไม่กินเนื้อก็เลยไม่รู้จะสั่งทำไมเอาแค่ 599 ก็อร่อยพอแล้วแต่ถ้าใครชอบแนวนั้นก็จัดได้ครับ



3. บรรยากาศในร้านก็สบายๆ ไม่แออัด ตามมาตรการรัฐตกแต่งสไตล์ญี่ปุ่นด้วย Wallpaper พระราชวังของญี่ปุ่นและต้นซากูระจำลองในร้านถ่ายรูปได้น่ารักดี
4. ระยะเวลาในการรออาหารก็ปกติไม่นานไปไม่เร็วมากอยู่ที่ระดับกลางๆ แต่ถ้าหิวมากๆ แนะนำให้สั่งพวกยำสาหร่าหรือซูชิมากินก่อนจะได้เร็วหน่อยมีเวลาในการกิน 90 นาทีเอาให้จุกเลยเอาจริงเวบาเท่านี้สำหรับเฮียคืออิ่มมาก





**สิ่งที่ต้องปรับปรุงติเพื่อก่อนะครับเพราะเฮียก็ลูกค้าประจำ**
ในบางครั้งพนักงานไม่ค่อยมองลูกค้าในร้านเลยว่าจะสั่งอาหารอะไรหรือต้องการความช่วยเหลืออะไรหรือเปล่าส่วนใหญ่จะก้มหน้าก้มตาดูนู้นดูนี่เป็นส่วนใหญ่ทั้งๆ ที่ก็ไม่ได้ยุ่งอะไรแต่ก็ไม่ได้เป็นกันทุกคนนะครับบางคนก็สนใจดีเจ้าของร้านควรเพิ่มการ Training ตรงนี้นิดนึงเพราะทุกอย่างดีหมดเสียตรงนี้นิดเดียวบางครั้งเฮียต้องพูดเสียงดังๆ เพื่อให้มารับรายการอาหารลูกค้าบางคนก็ต้องเดินไปบอกพนักงานว่าจะสั่งอาหารซึ่งจริงๆ แค่เพิ่มการสอดส่องสายตาสักนิดจะดีมากครับ
ยังไงใครชอบอาหารญี่ปุ่นก็แนะนำร้านนี้นะครับ "ODAIBA Pattaya"
"เฮียไงจะใครล่ะ"

วันเสาร์ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2563

ร้างความผูกพันกับแขกผู้เข้าพักด้วย Storytelling
อีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญที่สุดหลังจากที่โรงแรมได้ปรับมาตรฐานการให้บริการรับ New Normal ที่เปลี่ยนไปในด้านพฤติกรรมการเข้าพักของแขกโดยเฉพาะในด้านสุขอนามัยเป็นเรื่องของ “การสื่อสาร” ในสิ่งที่โรงแรมได้ทำการปรับปรุงไปยังกลุ่มแขกผู้เข้าพักเพราะนอกจากจะทำให้แขกเห็นพัฒนาการในด้านการยกระดับมาตรฐานด้านความปลอดภัยในการเข้าพักแล้วนี่ยังเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้แขกตัดสินใจจองห้องพักได้อย่างมั่นใจและรวดเร็วมากขึ้นสำหรับวิธีการสื่อสารก็มีมากมายหลากหลายวิธีแต่ในวันนี้เราจะมาเลือกเครื่องมือตัวหนึ่งที่เป็น Trend ที่นิยมและมีประสิทธิภาพในการสร้าง Engagement ให้กับกลุ่มเป้าหมายได้ดีอีกวิธีการหนึ่งนั่นคือการทำ “Storytelling” ซึ่งหลายๆ โรงแรมสามารถเลือกที่จะทำ Storytelling ด้วยตนเองได้ง่ายๆ และมีประสิทธิภาพโดยนำโครงสร้างด้านล่างไปประยุกต์ใช้กับองค์ประกอบของโรงแรม (บทความนี้เป็นทรรศนะจากประสบการณ์ของเฮีย)


1. The Point of Telling จุดที่จะเล่า? ประเด็นนี้เราสามารถเริ่มวิเคราะห์องค์ประกอบของโรงแรมเราก่อนว่าเราเลือกที่จะเอาจุดไหนมาเล่าเรื่องโดยทั่วไปแล้วจะมีองค์ประกอบใหญ่ๆ แบบไม่ซับซ้อนอยู่ 2 องค์ประกอบคือ Product และ Service เราจึงต้องทำการเลือกประเด็นที่จะเล่าก่อนว่าเราจะ Focus ไปที่จุดไหนสาเหตุที่ต้องแยกองค์ประกอบก็เพื่อการเล่าเรื่องที่เป็นลำดับขั้นและน่าติดตามชัดเจนในสิ่งที่เราจะเล่ามากขึ้นสื่อสารได้ตรงประเด็นขึ้นไม่สะเปะสะปะกระโดดไปกระโดดมาจนทำให้ผู้อ่านสับสนและเกิดอาการไม่เข้าใจว่า “เราจะสื่อถึงอะไร?” สำหรับการเลือกจุดที่จะเล่า เช่น
- Products กรณีที่เราเลือกที่จะเล่าเรื่องสินค้าของโรงแรมเราก็จำเป็นที่จะต้องหารายละเอียดของ ห้องพัก อาหารและเครื่องดื่ม สิ่งอำนวยความสะดวกและเลือกจุดที่เราคิดว่าน่าสนใจและควรที่จะนำมาเล่าเรื่องเพื่อให้ผู้อ่านเกิดความสนใจและอยากติดตามหรือตัดสินใจเดินทางมาใช้บริการ เช่น การเลือกประเด็นห้องพักโดยการเล่าเรื่องว่าห้องพักของโรงแรมนี้เคยมีคนที่มีชื่อเสียงมาพักหรือห้องพักของโรงแรมมีความพิเศษตรงการออกแบบที่มี Concept ที่โดดเด่นอย่างไร? เป็นต้น
- Services กรณีที่เราเลือกที่จะเล่าเรื่องการบริการเราจำเป็นที่จะต้องแตกองค์ประกอบย่อยไปอีกว่า “เราต้องการจะเล่าเรื่องการบริการของแผนกใด?” เช่น เราอยากเล่าประเด็นการให้บริการของแผนกแม่บ้านที่โรงแรมของเรามีบริการด้านความสะอาดด้วยการใช้น้ำยาฆ่าเชื้อที่ได้รับการรับการแนะนำจาก CDC หรือ WHO เราก็เลือกประเด็นนี้มาเป็นเรื่องเล่าว่าในช่วงที่ผ่านมาโรงแรมได้มีการพัฒนาด้านสุขอนามัยอย่างไรบ้างเมื่อเปรียบเทียบกับเมื่อก่อน
2. Storyteller หรือ “นักเล่าเรื่อง” ปัจจัยที่สำคัญที่สุดของการทำ Storytelling เพราะเป็นผู้ที่กำหนดเรื่องราวและวางโครงสร้างการเล่าเรื่องทั้งหมดกรณีนี้โรงแรมสามารถคัดเลือกผู้ที่จะมาเป็น Storyteller ได้จากผู้ให้บริการอิสระ (Freelance) ที่มีประสบการณ์หรือจะเป็นการจ้างประจำให้มาอยู่ในส่วนของ Marketing Communication ด้วยก็ได้การคัดเลือก Storyteller จำเป็นที่จะต้องศึกษาเรื่องราวและ Achievement ต่างๆ ที่ผ่านมาให้ละเอียดเพื่อให้ทราบว่า Story Teller คนนี้เหมาะสมกับรูปแบบของโรงแรมหรือไม่? เพราะเมื่อโรงแรมใช้การเล่าเรื่องตามแบบของ Story Teller คนนั้นๆ แล้วตัวตนของโรงแรมในช่องทางที่ทำ Story Teller จะสร้าง Awareness ในรูปแบบนั้นกับกลุ่มเป้าหมายทันที เช่น หากเราเลือก Story Teller คนที่มีรูปแบบการเล่าเรื่องราวที่สนุกสนาน ผ่อนคลาย ไม่เครียด ตัวตนของโรงแรมของเราก็จะเป็นไปในแนวทางเดียวกันกับเรื่องที่เล่ากลุ่มเป้าหมายก็จะเป็นกลุ่มที่ชอบความสนุกสนาน ผ่อนคลาย ไม่เครียดไปด้วย
3. Audience กลุ่มเป้าหมายที่เราต้องการจะกระสายเรื่องราวที่เราจะเล่าซึ่งโดยทั่วไปแล้วหลายๆ โรงแรมเลือกที่จะเล่าเรื่องผ่านช่องทาง Social Media ของโรงแรมไม่ว่าจะเป็น FB, IG, ฯลฯ ซึ่งในแต่ละช่องทางมีผู้ติดตามที่แตกต่างกันตามพฤติกรรมการใช้งาน Social Media ช่องทางนั้นๆ ซึ่งเราจำเป็นต้องศึกษากลุ่มเป้าหมายให้ถี่ถ้วนก่อนว่ากลุ่มเป้าหมายของเราที่อยู่ในช่องทางเหล่านั้นเป็นใครบ้าง? เพศใด? อายุเท่าไหร่? มี Engagement กับ Page เราใดรูปแบบใด กด Like อย่างเดียวหรือ กด Link & Share? และจำนวนครั้งที่เขามีปฏิสัมพันธ์กับแต่ละ Post ของเราแสดงออกมาในรูปแบบใดการเข้าใจกลุ่มเป้าหมายจะทำให้เราเลือกองค์ประกอบต่อๆ ไปได้ดียิ่งขึ้น
4. Types of Content เราจะใช้การเล่าเรื่องแบบใด? ซึ่งเมื่อได้องค์ประกอบตามด้านบนแล้วเราก็มาทำการเลือกประเภทของการเล่าเรื่องของเราว่าเราจะเล่าเรื่องแบบใดซึ่งก็มีแบบหลักๆ ที่ให้เราเลือกใช้อยู่ด้วยกัน 2 แบบคือ
- การเล่าเรื่องด้วยตัวอักษร เป็นการ Create Post และเล่าเรื่องผ่านตัวอักษรตามปกติเหมือน Post ทั่วไปแต่ควรจะต้องมีการวางโครงสร้างการเล่าเรื่องที่เป็นลำดับตั้งแต่ “เกริ่นนำ - เนื้อหาที่ต้องการเล่า – สรุป” และสุดท้ายสิ่งที่อยากเสนอให้กลุ่มเป้าหมาย เช่น Promotion หรือการเชิญชวนร่วมทำกิจกรรมการเลือกแบบในการเล่าด้วยตัวอักษรควรต้องระมัดระวังเรื่อง “คำผิดและการใช้ตัวสะกด” เพื่อป้องกันกรณีการเกิดเหตุใช้คำผิดจนส่งผลทำให้ความน่าเชื่อถือลดลงโดยเฉพาะถ้าเราใช้ Page ในรูปแบบ Business ในการเล่าเรื่อง
- การเล่าเรื่องด้วยภาพ การเลือกเล่าเรื่องด้วยภาพมองเผินๆ เป็นเรื่องที่ดูทำง่ายไม่ต้องคิดโครงสร้างในการ Post เยอะเหมือนกับการเล่าเรื่องด้วยตัวอักษรแต่จริงๆ แล้วการเล่าเรื่องด้วยภาพนี้ค่อนข้างเป็นอะไรที่ต้องอาศัยการวิเคราะห์ภาพที่มีองค์ประกอบที่ยากกว่าในการนำมาเล่าเราคงเคยได้ยินคำว่า “ภาพหนึ่งภาพแทนล้านคำพูด” นี่คือเรื่องจริงแต่กว่าจะได้ภาพหนึ่งภาพที่แทนความหมายได้ล้านคำนี่แหละเป็นขั้นตอนที่ยากที่สุดและต้องใช้ความละเอียดมากที่สุดอีกเรื่องที่สำคัญไม่แพ้กันคือองค์ประกอบในภาพที่ต้องระมัดระวังการถูกนำไปตีความเป็นประเด็นอื่นซึ่งบางครั้งมีข้อกฎหมายเข้ามาเกี่ยวข้องนอกเหนือจากที่เราต้องการจะศึกษา เช่น การที่เรา Post ภาพเพื่อเล่าเรื่อง Promotion ของโรงแรมแต่มีเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เข้ามาด้วยกรณีนี้อาจถูกเบี่ยงประเด็นไปเป็นเรื่องของการแสดงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในเพจได้
- เล่าเรื่องด้วย VDO Clip เป็นการเล่าเรื่องที่ผสมผสานระหว่างการเล่าเรื่องด้วยตัวอักษรและการเล่าเรื่องด้วยภาพซึ่งประเด็นการเล่าเรื่องด้วย VDO Clip จากการสำรวจพฤติกรรมการใช้งานเนื้อหาในรูปแบบ VDO จาก Hootsuite (Digital 2020 Thailand) พบว่าผู้ใช้งาน 99% จากผู้ใช้งาน Internet ทั้งหมดในประเทศไทยมีการรับชม VDO ผ่าน Platform ต่างๆ
5. Wording การใช้ถ้อยคำที่จะเล่าเรื่องเมื่อเราได้องค์ประกอบแล้วเราก็สามารถนำมาเลือกถ้อยคำที่ใช้สื่อสารให้เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายของเราเนื่องจากการใช้คำเป็นอีกหนึ่งองค์ประกอบที่สำคัญในการสื่อสารให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย เช่น หากแขกผู้เข้าพักของโรงแรมเป็นแขกกลุ่ม Baby Boomer การใช้ถ้อยคำในการสื่อสารควรเป็นศัพท์ที่เข้าใจง่ายไม่กำกวมและไม่เป็นภาษาที่มีความเฉพาะกลุ่มหรือเกาะไปตามกระมากนักนอกจากนี้เรายังต้องพิจารณาถึงการเล่าเรื่องในภาษาอื่นๆ ด้วยเช่นกันในกรณีที่กลุ่มเป้าหมายเป็นชาวต่างชาติ เช่น ภาษาอังกฤษ ภาษาจีน เป็นต้น ซึ่งต้องเพิ่มความระมัดระวังในการสื่อสารโดยเฉพาะสำนวนและไวยากรณ์ที่ควรมีผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบก่อนเผยแพร่เสมอ
6. Styles รูปแบบการเล่าเรื่องสำหรับการทำ Storytelling ส่วนใหญ่จะมี Types of Stories อยู่หลักๆ ด้วยกันทั้งหมด 7 ประเภท คือ Overcoming the Monster, Rebirth, Quest, Journey and Return, Rags to Riches, Tragedy, และ Comedy, สำหรับธุรกิจโรงแรมประเภทซึ่งเป็นธุรกิจที่เชื่อมโยงกับพฤติกรรมการพักผ่อนและความรู้สึกผ่อนคลายของแขกผู้เข้าพักการเล่าเรื่องที่ในรูปแบบของ “Comedy + Have Fund” จะช่วยส่งผลบวกต่อการทำ Storytelling เนื่องจากสอดคล้องกับพฤติกรรมความรู้สึกของแขกผู้เข้าพัก ในปัจจุบันนี้การรับรู้ของผู้บริโภคต่อเรื่องราวใดเรื่องราวหนึ่งมีอัตราการการเกิดความสนใจในเนื้อหาค่อนข้างต่ำ (ถ้าเป็น VDO Clip เฉลี่ยจะอยู่ที่ 2-3 วินาที) หากเรามีรูปแบบการเล่าเรื่องที่น่าเบื่อและไม่น่าสนใจการทำ Story Telling ของเราก็ยากที่จะประสบความสำเร็จแต่ทั้งนี้เราจำเป็นที่จะต้องหารูปแบบการเล่าเรื่องที่เราถนัดและกลุ่มเป้าหมายของเราชื่นชอบให้ได้เสียก่อนด้วยการทดลองเล่าเรื่องในหลากหลายรูปแบบและหมั่นประเมินผลตอบรับแต่ละแบบทั้ง “การเล่าเรื่องแบบมีสาระ” และ “การเล่าแบบกึ่งสาระ” หรือ “การเล่าเรื่องที่เน้นความสนุกสนานหรือการเล่าเรื่องเชิงคำถามเพื่อดึงดูดให้กลุ่มเป้าหมายมาช่วยกันหาคำตอบซึ่งสร้าง Engagement ให้กับโรงแรม” เป็นต้น
7. Structure การวางโครงสร้างการเล่าเรื่องในการทำ Storytelling ต้องมีการวางโครงการสร้างตั้งแต่เกริ่นนำ ตัวเนื้อหาที่สำคัญและสรุปไม่ควรใช้การเล่าเรื่องแบบบรรยายไปเรื่อยๆ โดยไม่มีโครงสร้างไม่มีที่มาที่ไปและไม่มีข้อสรุปเนื้อหาเพราะผู้อ่านหรือผู้รับชมจะไม่ได้รับสิ่งที่เราต้องการจะสื่อรวมทั้งโรงแรมก็เสียโอกาสในการแจ้ง “เนื้อหาสำคัญ” ให้กับกลุ่มเป้าหมายด้วยนอกจากนี้ยังต้องมีการลำดับเรื่องที่จะเล่าว่าอะไรควรมาก่อนมาหลัง เช่น กรณีการจัดมาตรฐานด้านสุขอนามัยใหม่ให้กับโรงแรมเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดและติดเชื้อ COVID-19 ควรมีการเกริ่นนำเรื่อง “การปฏิบัติแบบใดที่เสี่ยงต่อการติด COVID-19” ตามด้วย “สิ่งที่โรงแรมทำทั้งหมดเพื่อลดความเสี่ยง” และสรุปคือ “โรงแรมได้ปรับวิถีการให้บริการเรียบร้อยแล้วแขกผู้เข้าพักจึงมั่นใจในความปลอดภัยในการมาพักกับโรงแรมได้” เป็นต้น
8. Unique Selling Point แม้แต่การเล่าเรื่องก็ต้องมีจุดขายดังนั้นเวลาที่เราทำ Storytelling เราต้องหาตัวตนของเราให้เจอว่าจุดขายในการเล่าเรื่องของโรงแรมนั้นคืออะไร? ซึ่งจุดขายในที่นี้อาจไม่ใช่แค่ Promotion ห้องพักราคาพิเศษหรือการเล่าเรื่องถึงความสวยงามของโรงแรมแต่ยังรวมถึง “ภาษาหรือเนื้อหาที่สนุก” หรือการมี “คำเฉพาะ” ที่เมื่ออ่านแล้วรู้ได้ทันทีว่าเป็นเรื่องราวของโรงแรมซึ่งในข้อนี้เราควรใช้เวลามากเป็นพิเศษในการคิดคำหรือประโยคเฉพาะเพื่อใส่ไปในทุกหัวข้อของการทำ Storytelling
มีรายละเอียดตอนหนึ่งในบทความของ ดร.วรากรณ์ สามโกเศศ (https://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/647139) เกี่ยวกับการเล่าเรื่องจาก Paul Zak นักเศรษฐศาสตร์ ด้านประสาทวิทยา (neuro economist) ที่ Claremont Graduate University ซึ่งได้ทำการศึกษา neurobiology ของการเล่าเรื่องและพบว่า “เรื่องที่มีการเล่าที่ดีจะช่วยเพิ่มการปล่อยสารสำคัญที่ดี 2 ตัวในสมอง คือ dopamine (เมื่อให้ความสนใจกับเรื่องที่เล่า) และ oxytocin (ทำให้รู้สึกผูกพันเชื่อมโยง) ทั้งหมดนี้จะทำให้เกิดสภาวการณ์ที่เรียกว่า immersion ซึ่งผู้ฟังจะซึมซับด้วยความรู้สึกดื่มด่ำและพร้อมที่จะถูกโน้มน้าวถ้าจะให้ผู้ฟังเข้าไปอยู่ในสภาวการณ์ immersion ผู้เล่าจะต้องทำให้ผู้ฟังเกิดความสนใจและเกิดอารมณ์ร่วมในเรื่องที่เล่าอารมณ์นี้แหละคือสิ่งที่จะไปเพิ่มความผูกพันกับผู้เล่า
ด้วยหลักฐานทางวิชาการนี้ธุรกิจโรงแรมซึ่งในปัจจุบันกำลังอยู่ในการแข่งขันกันอย่างดุเดือดเกิดสงคราราคา (Price War) ขึ้นใน Red Ocean รายใหญ่อาจไม่กระทบมากนักแต่รายเล็กนับเป็นเรื่องยากที่จะเข้าสู่สมรภูมินี้แต่ในอีกมุมหนึ่งถ้ารายกลางและรายเล็กถอยตัวเองออกมาจากสถานการณ์ที่ฝุ่นตลบอยู่นี้และหันมาสร้างการรับรู้ใน Brand ของโรงแรมมากกว่าการเสนอขายเพียงอย่างเดียวน่าจะเป็นอีกหนึ่งทางออกที่จะสามารถรักษาตัวตนของโรงแรมให้ยังคงอยู่ไม่หายไปและที่สำคัญไม่ต้องใช้งบประมาณมากมายเพียงแต่หันมาเอาใจใส่ในเรื่องการสร้าง Storytelling ให้กับโรงแรมของตนเองเท่านั้นเพื่อสร้าง Engagement ให้กับแขกที่หากทำดีๆ อาจเกิดแขกที่มี Loyalty สูงกับโรงแรมอย่างที่เราคาดไม่ถึงมาก่อนก็ได้
N. Kamolpollapat – Hotel Man
3 July 2020 : 23.00 Hrs.

บทความแนะนำ