วันศุกร์ที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2564

 Utility Token โอกาสในวิกฤตของธุรกิจโรงแรม

 


เชื่อว่านาทีนี้คงไม่มีใครไม่รู้จักระบบการเงินใหม่แห่งอนาคตที่เรียกกันติดปากว่า Cryptocurrency ซึ่งเป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการลงทุนและการใข้จ่ายของผู้คนในอนาคต แต่อีกอย่างหนึ่งที่เติบโตควบคู่กันมาและมักจะสร้างความสับสนให้กับผู้คนมือใหม่ที่เพิ่งเข้าสู่ตลาดนั่นคือตัวของ Token ที่เป็นเหรียญในลักษณะที่คล้ายกันแต่ทำงานแตกต่างกันและตัวของ Token นี้ก็มีอยู่มากมายหลายแบบตามแต่ที่จะนิยามซึ่งประโยชน์ของมันก็มักจะถูกนำมาใช้งานใน Ecosystem ที่แต่ละเหรียญถูกออกแบบมา การนำระบบรับชำระเงินด้วย Cryptocurrency มาใช้ในการจองโรงแรมถือเป็นอีกก้าวหนึ่งของการ Transformation ธุรกรรมด้านการเงินของอุตสาหกรรมโรงแรมแม้จะยังไม่แพร่หลายนักแต่ก็มีแนวโน้มการพยายามศึกษาและนำระบบการรับชำระเงินนี้มาใช้กันมากขึ้นในหลายโรงแรมและแม้แต่ผู้ให้บริการรับจองห้องพัก Online หรือ OTA ด้วยก็ตาม

ก่อนหน้าธุรกิจโรงแรมยังมีหลากหลายอุตสาหกรรมที่เริ่มออกมาทยอยรับการชำระเงินค่าใช้จ่ายในรูปแบบต่างๆ ผ่านสกุลเงิน Cryptocurrency และที่เริ่มได้รับความนิยมตามมานั่นคือตัวของ Token ที่เริ่มมีการนำมาใช้เพื่อสร้างสภาพคล่องด้านการเงินและการใช้งานให้กับ Stakeholder ต่างๆ ใน Ecosystem นั้นๆ ตัวอย่างเช่น Investment Token ของ บริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน) ในชื่อของ “SiriHub A และ SiriHub B” ที่นักลงทุนที่ซื้อเหรียญในสอง Series นี้จะได้รับผลตอบแทนในอัตราที่แตกต่างกันแต่มีที่มาเหมือนกัน กล่าวคือ Investment Token ของแสนสิรินี้จะใช้อ้างอิงการรับผลตอบแทนจากสินทรัพย์อ้างอิงคือ “กลุ่มอาคารสำนักงาน แสนริริ แคมปัส” ซึ่งเป็นสำนักงานใหญ่ของแสนสิริ โดยมีสัญญาเช่าระยะยาว 12 ปี ผู้ลงทุนจะได้รับส่วนแบ่งรายได้ทุกไตรมาส สำหรับผู้ถือ Token SiriHub A จะได้รับผลตอบแทนร้อยละ 4.5 ต่อปี และสำหรับผู้ถือ SiriHub B จะได้รับผลตอบแทนร้อยละ 8.0 ต่อปี และผู้ถือจะได้รับส่วนแบ่งรายได้ส่วนสุดท้ายจากการจำหน่ายทรัพย์สินเมื่อสิ้นสุดโครงการ (https://xspringdigital.com/th/project/sirihub) นี่คือภาพของการใช้ Token ในมุมของภาคอสังหาริมทรพัย์แล้วในส่วนของธุรกิจโรงแรมจะสามารถนำ Token มาใช้ได้อย่างไรบ้าง?

 

แล้วสำหรับธุรกิจโรงแรมล่ะ?

แน่นอนว่า Token นั้นมีหลายแบบแต่สำหรับแบบที่น่าจะเหมาะกับธุรกิจโรงแรมที่สุดคงจะหนีไม่พ้น Token ที่เป็นตัวที่เรียกว่า “Utility Token” คือ Token ที่ใช้หมุนเวียนใช้จ่ายใน Ecosystem ของตัวเองซึ่งข้อดีของ Token ชนิดนี้คือ “ไม่จำเป็นต้องขออนุญาตจาก ก.ล.ต. สามารถออกใช้งานใน Platform ได้เลย” เพราะไม่มีการเกี่ยวข้องกับการรับผลตอบแทนหรือส่วนได้ส่วนเสียเหมือน Investment Token ที่ใช้เพื่อแสดงสิทธิในการรับผลตอบแทนจากการลงทุน ซึ่งประเด็นหลักๆ ที่หากมีการออก Utility Token มาใช้ในธุรกิจโรงแรมแล้วน่าจะเกิดขึ้นคือ

 

1. Utility Token จะถูกนำมาใช้ในการชำระค่าใช้จ่ายแทนการใช้เงินสดในลักษณะของการ “ขายเครดิต” ล่วงหน้า เหมือนกรณีที่เราใช้งานผ่าน Platform อื่นๆ โดยจะเป็นการให้แขกผู้เข้าพักซื้อเหรีย Utility Token และแจ้งสิทธิที่แขกจะสามารถนำ Utility Token นี้ไปใช้งานได้ เช่น ซื้อ Utility Token 100 เหรียญ ในอัตราเหรียญละ 1,000 บาท ผู้ถือ Utility Token นี้ จะสามารถนำไปชำระค่าห้องพัก ค่าอาหารและเครื่องดื่ม ค่าสปา หรือค่าบริการอื่นๆ ในโรงแรม และอาจจะรวมถึงสิทธิในการได้รับส่วนลดในลักษณะของการ Top up เพิ่มขึ้นไปอีกขั้นหนึ่งด้วยก็ได้เพื่อสร้างความน่าสนใจให้กับ Utility Token ของโรงแรม

2. การสื่อสารและประชาสัมพันธ์ ในกรณีที่โรงแรมต้องการให้ Utility Token ของโรงแรมได้รับความนิยมจากแขกจำเป็นที่จะต้องมีการวางแผนการตลาดและมอง Utility Token เป็นสินค้าอีกตัวหนึ่งของโรงแรม ซึ่งไม่ควรมองว่า Utility Token นี้เป็นเพียงระบบใช้งานเฉพาะที่ไม่จำเป็นต้องทำการสื่อสารและประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับรายละเอียดออกไปว่าใช้ทำอะไรได้บ้าง? เพื่อให้แขกได้รับรู้เพราะหากไม่มีการสื่อสารและทำให้แขกเห็นถึงความสำคัญ ประโยชน์ หรือความแตกต่างของการมีหรือไม่มี Token ให้ได้ การประสบความสำเร็จในการออกขายเหรียญ Utility Token นี้ย่อมยากที่จะประสบความสำเร็จและอาจจะทำให้เสียเวลา เสียงบประมาณในการศึกษาและจัดทำโดยใช่เหตุ

3. ข้อดีของการออก Utility Token สำหรับโรงแรม แน่นอนว่าเมื่อเป็นการ “ขายล่วงหน้า” โรงแรมจะมีกระแสเงินสด (Cash Flow) เข้ามาหมุนเวียนในการทำธุริกิจได้ดีขึ้น ในข้อกำหนดที่ว่าเหรียญ Utility Token ของโรงแรมนั้นต้องดึงดูดให้แขกมาซื้อได้ ซึ่งสิ่งที่จะทำให้แขกสนใจ Token ของโรงแรมคงหนีไม่พ้นสิทธิพิเศษเฉพาะ (Privilege) ของผู้ที่ถือ Token ของโรงแรมที่แตกต่างจากแขกทั่วไปในจุดนี้อาจต้องมีการวางแผนทำ Service Design เข้ามาประกอบเรื่องสิทธิประโยชน์ของผู้ถือ Token

4. ข้อควรระวังหากออก Utility Token มาใช้ในโรงแรมที่สำคัญที่สุดคือ “ระบบการใช้งาน” ที่จำเป็นจะต้องได้รับการดูแลและปรับปรุงอยู่ตลอดเวลาทั้งในเรื่องของ Circulation Supply ปริมาณ Token ที่จะใช้งานในระบบต้องมีความชัดเจนว่าจะเป็นแบบ Unlimited ออกได้เรื่อยๆ หรือเป็นแบบที่มี Maximum Supply คือมีการจำกัดจำนวนเหรียญทั้งหมดที่จะใช้งาน ซึ่งแต่ละอย่างมีข้อดีข้อเสียต่างกันไป ประการต่อมาคือเรื่องของระบบการ Redeem ตัว Token ที่นำมาใช้งานต้องมีความเสถียรและปลอดภัยแม่นยำในการคิดคำนวณไม่เกิดเหตุการณ์ที่ Token ของแขกหายไปในขณะ Redeem แต่แขกไม่ได้รับของรางวัลหรือใช้งานไม่ได้ รวมทั้งระบบการจัดเก็บเหรียญที่แขกได้ซื้อไปซึ่งต้องไม่เกิดการ “สูญหาย” จากการจัดเก็บ และตัวสุดท้ายที่สำคัญที่สุดคือเรื่องของการวางระบบ Cyber Security ต้องมีระบบป้องกันที่ปลอดภัย สามารถป้องกันการถูก Hack ข้อมูลผู้ใช้หรือแทรกแทรงระบบการดำเนินงานจากภายนอกซึ่งจะทำให้โรงแรมและแขกได้รับความเสียหาย

5. หน่วยงานที่ดูแลเกี่ยวกับ Utility Token ของโรงแรม ในกรณีนี้ต้องมีความชัดเจนเกี่ยวกับหน่วยงานในโรงแรมที่จะดูแลบริหารจัดการเกี่ยวกับ Utility Token ที่ชัดเจนตั้งแต่ขั้นตอนการออกใช้งาน การใช้งาน การควบคุม รวมถึงการประเมินผลจากข้อมูลจากการใช้งาน Token ในลักษณะของการทำ Data Analysis แต่ด้วยเรื่องนี้เป็นเรื่องใหม่ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนอาจต้องมีการกำหนดบุคคลากรและฝ่ายที่รับผิดชอบให้ชัดเจนว่าใครจะเป็นผู้ดูแลตรวจสอบและแก้ไข จะเป็น ฝ่าย IT หรือฝ่าย Sales & Marketing หรือฝ่ายบัญชี หรืออาจจะต้องใช้บริการบริษัท Outsource จากข้อจำกัดเรื่องความชำนาญที่บริษัทเหล่านี้น่าจะมีมากกว่าบุคคลากรด้านการโรงแรมโดยตรงแต่ก็ต้องระมัดระวังเรื่องการบริหารจัดการข้อมูลส่วนบุคคล PDPA ให้ดีด้วยเช่นกันเพราะเป็นการเชื่อมต่อและดูแลข้อมูลจาก 3rd Party.

6. กฎ ระเบียบ และข้อบังคับจากทางภาครัฐ หากในอนาคตตัว Utility Token มีการนำมาใช้งานมากขึ้นในทุกอุตสาหกรรมและได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายซึ่งอาจจะเป็นอีกช่องทางหนึ่งของกลุ่มมิจฉาชีพในการสร้างความเดือดร้อนประชาชนซึ่งเราอาจจะได้เห็นการออกกฎหมาย ระเบียบหรือมาตรการใหม่ๆ มาป้องกันในกรณีนี้และแน่นอนว่ามันอาจจะส่งผลกระทบต่อทั้งผู้ออก Token และผู้ใช้งาน Token ด้วยเช่นกันดังนั้นการเตรียมพร้อมในการรับมือกับกรณีด้วย

ในมุมมองส่วนตัวของเฮียเองในระยะเวลาอันใกล้นี้เราน่าจะได้เห็น “เชนโรงแรม” ทั้งในระดับ International หรือในระดับ Domestic ในประเทศของเรามีการออก Utility Token ออกมาใช้งานกันได้เร็วๆ นี้เนื่องจากมีปัจจัยที่เอื้อในความสำเร็จหากจะลงมาจัดทำ Utility Token จริงๆ เพราะมี Supply คือ จำนวนโรงแรมในเชนที่มีหลากหลายให้เลือกทุกระดับ ทุกราคา ทุกตลาด ซึ่งก็จะรวมถึงห้องอาหาร สปา ฯลฯ เข้าไปด้วยเพิ่มความน่าสนใจในการถือ Token เพราะในความเป็นเชนย่อมมีข้อได้เปรียบด้าน Economy of Scale เมื่อออก Utility Token แล้วสามารถใช้งานได้กับการใช้จ่ายด้านห้องพัก อาหาร สปา ฯลฯ ทุกโรงแรมในเครือทั่วโลก แขกจะมีความรู้สึกคุ้มค่า น่าถือ Token ยิ่งหากเชนโรงแรมทำการประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ได้ดีก็จะยิ่งเพิ่มโอกาสในความสำเร็จและต่อยอดไปยังบริการตัวอื่นได้อีกด้วย

แต่ในอีกมุมนี่คงเป็นอีกอย่างหนึ่งที่สะท้อนให้เห็นถึง Gap ที่เกิดขึ้นระหว่างโรงแรมขนาดใหญ่และโรงแรมขนาดเล็กจากผลพวงของ Digital Transformation ที่เข้ามาเปลี่ยนแปลงโลกธุรกิจบริการ ซึ่งผู้ประกอบการรายเล็กย่อมไม่มีเงินทุนและทรัพยากรมากเท่าผู้เล่นรายใหญ่ทำให้การบ้านอีกข้อหนึ่งคือหากไม่สามารถที่จะปรับองค์กรได้อย่างรวดเร็วให้สอดคล้องกับ Digital Transformation ได้ทันที ก็จำเป็นที่จะต้องหา Unique Selling Point ของตัวเองให้เจอ ซึ่งต้องเป็นจุดที่แขกให้ความสนใจมากกว่าการมีเทคโนโลยีที่ตื่นตาตื่นใจเข้ามาให้บริการในโรงแรม น่าสนใจว่าในอนาคตต่อไปฉากทัศน์ของธุรกิจโรงแรมที่เคยมีจุดขาย จุดเด่นด้านการให้บริการ จะปรับตัวรับ Digital Disruption ได้อย่างไรในอนาคตอันใกล้นี้?

 

Pop Natthapat – Hotel Man

29 October 2021

วันพฤหัสบดีที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2564

GM Jobs

 เป็น GM (General Manager) โรงแรมต้องทำอะไรบ้างนะ?


เชื่อว่าน้องๆ หรือหลายๆ คนที่กำลังสนใจในธุรกิจโรงแรมคงมีคำถามว่าตำแหน่งที่เรียกได้ว่าเป็น "หัวเรือใหญ่" ของโรงแรมนั้นในแต่ละวันเขาต้องทำอะไรบ้างและถ้าเราจะไปอยู่ตรงจุดนั้นให้ได้ตามความฝันหรือเป้าหมายในอาชีพของเราเองเราจะต้องเตรียมตัวอย่างไร?

AIHM สถาบันการโรงแรมและธุรกิจบริการของผู้สนใจในสายอาชีพนี้ทุกคนขอชวนน้องๆ และผู้ที่สนใจอยากทำงานด้านธุรกิจโรงแรมและมีความใฝ่ฝันอยากเป็น GM มาร่วมรับชมไลฟ์สดกิจกรรม One Day with GM : Live Interview ในวันที่ 28 ตุลาคม 2564 เวลา 18.00 น. - 19.00 น. ที่จะมาเปิดทุกซอกทุกมุมของตำแหน่ง GM และพิเศษสุด!! ทุกคนยังสามารถส่งคำถามเข้าไปสอบถามใน Live รวมถึงร่วมสนุกชิงของรางวัลมากมายจาก Minor Hotels อีกด้วยนะครับ

ใน Live เราจะได้พบกับกับคุณเนาวรัตน์ อรุณคง Cluster General Manager ผู้หญิงเก่ง คนไทยคนเดียวที่เป็น GM ของโรงแรมเครือ Minor Hotels ที่จะมาร่วมพูดคุยถึงประสบการณ์การทำงานเกี่ยวกับธุรกิจการโรงแรม น้องๆ คนไหนสนใจอยากรู้ว่าในแต่ละวัน GM ทำหน้าที่อะไรบ้าง อนาคตของสายงานโรงแรม พร้อมทั้งทัวร์โรงแรมทั้งสองแห่ง ต้องห้ามพลาด

ติดตามชมเรื่องราวทั้งหมดนี้ได้ทางเฟซบุ๊กแฟนเพจ Asian Institute of Hospitality Management แล้วพบกันครับ!!
.
>>ลงทะเบียนเข้ารับชม FB live ได้ที่>>
✅https://fb.me/e/MNH6s7fI

AIHM รับสมัครนักศึกษาทและผู้ที่สนใจในอุตสาหกรรมการโรงแรมและการบริการเพื่อพัฒนาทักษะแห่งอนาคตสำหรับภาคการศึกษาใหม่ในเดือนเมษายน 2565 ปีหน้าและยินดีต้อนรับทุกคนเข้าสู่รั้ว AIHM ครับ
.
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมกับเจ้าหน้าที่ฝ่ายรับสมัครนักศึกษาได้ที่
.
Email: admissions@aihm.education
Tel: 098 831 3858 | 065 509 8915


#AIHM #AIHMLive #สถาบันการโรงแรมและการบริการAIHM #hotelman #hotelmantravel

วันอังคารที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2564

เปิดประเทศแล้วโรงแรมเอายังไงต่อ?

 เปิดประเทศแล้วโรงแรมเอายังไงต่อ?

ทันทีที่นายกฯ ประกาศเตรียมพร้อมเปิดประเทศซี่งมีสาระสำคัญที่ภาคการโรงแรมและการท่องเที่ยวให้ความสนใจเป็นอย่างมากคือใจความของประกาศที่ว่า “ให้ผู้ที่ได้รับวัคซีนครบตามที่กำหนดไว้เดินทางเข้ามาได้โดยไม่ต้องกักตัว” ซึ่งหากไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงระหว่างส่วนกลางในการบริหารประเทศกับส่วนท้องถิ่นที่จะได้รับผลกระทั้งเชิงบวกและเชิงลบการเปิดประเทศตามที่กำหนดไว้ในวันที่ 1 พ.ย. 2564 คงจะเดินหน้าต่อไปตามกำหนดแน่นอนว่าการที่นักท่องเที่ยวจะมีอิสระในการเดินทางไปได้ทุกที่ทั่วประเทศไทยโดยไม่ต้องกักตัวหากได้รับวัคซีนครบตามจำนวนที่กำหนดย่อมเป็นผลดีแต่สำหรับในอุตสาหกรรมโรงแรมของเราความบอบช้ำจากวิกฤต COVID-19 เกือบสองปีที่ผ่านมานั้นทำให้เราต้องปรับตัวปรับกลยุทธ์ต่างกันเรียกได้ว่าแทบจะวันเว้นวันเพราะสถานการณ์เปลี่ยนแปลงไปตลอดซึ่งเมื่อเราจะเริ่มต้นเปิดประเทศ (ถ้าไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง) กันในเดือนหน้าพฤศจิกายนนี้มีสถานการณ์อะไรบ้างที่อาจเกิดขึ้นและเราเองในฐานะผู้ประกอบการโรงแรมและพนักงานโรงแรมจำเป็นที่จะต้องให้ความสนใจเพื่อเตรียมความพร้อมรับมือไว้





  1. มาตรฐานด้านสุขอนามัย (Hygiene Standard) ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการคัดกรองแขกผู้เข้าพักและพนักงานหรือการปฎิบัติตามข้อบังคับของสาธารณะสุขยังคงเป็นเรื่องแรกที่เราต้องให้ความสำคัญเพราะต้องยอมรับว่าวิธีการบางอย่างในปัจจุบันมันก็ไม่สามารถใช้คัดกรองแขกได้อย่างมีประสิทธิภาพมากนัก เช่น การตรวจวัดอุณหภูมิที่เอาจริงๆ ทุกวันนี้การเดินแล้วแปะมือในเครื่องวัดยังไม่สามารถบอกเราได้อย่างชัดเจนถึงอัตราความสำเร็จในการคัดกรองผู้ที่มีภาวะเสี่ยงจะติดเชื้อได้อีกต่อไปเพราะเชื้อตัวใหม่ๆ บางครั้งอุณหภูมิร่างกายก็ไม่สามารถตรวจพบได้เหมือนเดิม ดังนั้นเราอาจได้เห็นการ Upgrade มาตรฐานด้านสุขอนามัยที่ออกมาอย่าง SHA SHA+ หรือแม้แต่มาตรฐานด้านสุขอนามัยอื่นๆ ของแต่ละแบรนด์ เช่น Avani Shield, Centara Complete Care, IHG clean promise ฯลฯ ที่อาจจะต้องมีการปรับปรุงหรือปรับเปลี่ยนรูปแบบและวิธีการใหม่ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน เช่น อาจจะต้องเริ่มต้นมาตรฐานการตรวยสอบตั้งแต่ขั้นตอนในการตรวจ Vaccine Passport หรือ ข้อมูลใน App หมอพร้อมของแขกผู้เข้าพักทั้งชาวไทยและชาติต่างชาติ ว่ามีการฉีดวัคซีนครบตามที่กำหนดหรือยังฯ วัคซีนเป็นชนิดที่ อย.และสาธารณะสุขรองรับให้ใช้ได้ในไทยแล้วหรือไม่ฯ เป็นต้น ซึ่งขั้นตอนต่างๆ เหล่านั้นก็จะมาสัมพันธ์การเรื่องของการ Training พนักงานในการตรวจสอบด้วยเช่นกัน


  1. บุคคลากร (Staff) ปัจจัยแรกที่สำคัญของอุตสาหกรรมบริการที่ดำเนินกิจการภายใต้ความ “คาดหวังและอารมณ์” ของมนุษย์ธุรกิจโรงแรมเป็นธุรกิจที่ใช้ Human Touch เป็นตัวสร้างความประทับใจ ความจดจำ การบอกต่อ รวมการวัดผล KPI ด้าน Customer Experience ซึ่งสิ่งที่เปลี่ยนไปหลังจากเจอวิกฤต COVID-19 แม้บางคนจะมองว่า “ไม่น่ายากในการหาบุคคลากรโรงแรมที่ว่างงานอยู่มาก” ให้กลับเข้ามาทำงานโรงแรมเพื่อเตรียมตัวรับมือกับการเปิดประเทศแต่ในอีกมุมหนึ่งแม้จะมีคนที่ยังว่างงานอยู่จำนวนมากแต่เราต้องแบ่งคนเหล่านี้ออกเป็นสองแบบคือ “คนที่ออกมาแล้วยังมีความคิดที่จะกลับเข้าไปทำงานโรงแรมใหม่อีกครั้ง” กับอีกกรณีหนึ่งคือ “คนที่ออกมาแล้วเจอทางใหม่ที่ดีกว่าหรือชอบมากกว่าจนตัดสินใจว่าจะไม่กลับไปทำงานโรงแรมอีก” นั่นอาจทำให้ปริมาณบุคลากรที่ว่างงานในอุตสาหกรรมที่น่าจะดูเหมือนยังมีจำนวนมากแต่อันที่จริงจำนวนคนที่พร้อมทำงานและกลับมาในอุตสาหกรรมนั้นมันมีจำนวนที่แท้จริงนั้นมีจำนวนมากเท่าไหร่? เพียงพอกับ Supply ที่เหลืออยู่ในตลาดหรือเปล่า? จำนวนของบุคคลากรที่พร้อมทำงานอย่างแท้จริงในตลาดที่เหลืออยู่ยังจะส่งผลสอดคล้องกับ Trend การจ้างงานในอนาคตที่เป็นยุคของ “แรงงานทักษะสูง” ที่จะเป็นที่ต้องการของตลาดพร้อมกับการที่ผู้ประกอบการจะยอมจ่ายในอัตราสูงแลกกับทักษะที่หลากหลายจนอาจจะเกิดปรากฎการ “แย่งแรงงานทักษะสูง” ขึ้นในอุตสาหกรรมโรงแรมทำให้แรงงานกลุ่มนี้ขาดตลาดก็เป็นได้ เพราะต้องยอมรับว่าตัวแปรหนึ่งที่จะเข้ามาส่งผลกับ Trend นี้คือเรื่องของ


  1. เทคโนโลยีในอุตสาหกรรมบริการ (Hospitality Technology) ในส่วนของโรงแรมเราเองนั้นมีการเริ่มนำระบบใหม่ๆ เข้ามาเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการรวมถึงลดต้นทุนการดำเนินงานในประเภทงานที่ซ้ำซ้อนออกไปเพื่อให้พนักงานนำเวลาที่จะต้องเสียไปกับงานเหล่านั้นมาให้บริการแขกได้อย่างใกล้ชิดมากกว่านี่จึงเป็นที่มาของความต้องการแรงงานที่สามารถทำงานร่วมกับเทคโนโลยีต่างๆ เหล่านั้นได้ โดยเฉพาะเรื่องของ Digital Skills ซึ่งถ้าเรามองกันตามความเป็นจริงแม้จะดูเป็นเรื่องโหดร้ายสำหรับแรงงานแต่มันคือธรรมชาติของธุรกิจที่ต้องมีการปรับตัวไปเรื่อยและแรงงานเองก็ต้องปรับตัวให้สอดคล้องกับอุตสาหกรรมด้วยเช่นกัน หากเกิดกรณีที่เรามองว่า “ยังมีแรงงานในอุตสาหรกรมโรงแรมว่างงานและหางานอีกเยอะ” เราก็ต้องมองอีกมุมหนึ่งว่าปริมาณแรงงานเหล่านั้น “เป็นที่ต้องการของอุตสาหกรรมโรงแรมในปัจจุบันซึ่งสอดคล้องกับรูปแบบการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไปแล้วมากน้อยแค่ไหน?” และต้องคิดต่อไปในมุมที่ว่า “หากจำนวนแรงงานซึ่งเป็นที่ต้องการของตลาดซึ่งอยู่ในกลุ่มผู้ว่างงานที่กำลังหางาน ณ ขณะนั้นมีจำนวนไม่พอต่อความต้องการของตลาด” ภาพของการแก้ไขปัญหาตรงจุดนี้เราจะวางแผนรับมืออย่างไร? นี่ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่น่าคิดหาทางรับมือเอาไว้เช่นกัน


  1. ความไม่แน่นอนจากนโยบายสาธารณะ (Uncertainty Public Policy) ถือเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่เราไม่สามารถควบคุมได้จากการออกนโยบายโดยหน่วยงานราชการเพื่อบริหารสถานการณ์ที่สอดคล้องกับแต่ละช่วงเวลาซึ่งอาจเกิดขึ้นได้ ในส่วนนี้คงเป็นเรื่องของการที่โรงแรมเราคงต้องทำงานสอดประสานและ Update ไปกับประกาศ กฎระเบียบ ข้อบังคับต่างๆ ที่อาจออกมาระหว่างทางของการเปิดประเทศซึ่งก็คงไม่มีอะไรมารับประกันได้ว่ามันจะ “ดีหรือกลับไปแพร่ระบาดหนักเหมือนเดิม???” ดังนั้นเครื่องมือที่หลายโรงแรมนำมาใช้ในช่วง COVID-19 ที่ผ่านมาอย่าง Worse Case Scinario Plaining ยังคงต้องมีการจัดทำอยู่และ Update รายละเอียดอย่างต่อเนื่องเพราะแม้จะเปิดประเทศแต่สถานการณ์ในแต่ละพื้นที่นั้นก็มีสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกันไปอาจจะเกิดสถานการณ์ที่บางพื้นที่ยังคงต้องให้มีการประกาศกักตัวหรือสั่งห้ามเข้าพื้นที่ในสถานการณ์ที่เกิดการแพร่ระบาดกลับมาอีกครั้งหลังเปิดประเทศ


  1. ประเภทของนักท่องเที่ยว (Tourist Market) เกี่ยวข้องกับเรื่องของการขายและการตลาดของโรงแรม ในช่วงหลังมาตรการคลายล็อคที่ผ่านมาตลาดหลักของอุตสาหกรรมโรงแรมคงหนีไม่พ้นนักท่องเที่ยวในประเทศ (Demestic Tourist) เป็นตลาดไทยเที่ยวไทยเป็นหลักซึ่งหลายๆ โรงแรมก็เริ่มการทำการขายและการตลาดให้สอดคล้องและเอื้อกับพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวที่เป็นชาวไทยมาเป็นพิเศษแต่หลังจากที่ประกาศเปิดประเทศน่าจะเป็นช่วงที่โรงแรมต้องทำการแบ่งสัดส่วนตลาด Domestic และ Oversea ให้สัมพันธ์กันและเป็นไปอย่างระมัดระวังเพราะในบางครั้งหากเกิดกรณีที่เราปรับแผนการขายและการตลาดให้เอื้อไปทาง Oversea เลยเป็นหลักเพราะเล็งเห็นว่าจะเปิดประเทศแล้วจนละเลยการให้ความสำคัญกับการทำตลาดนักท่องเที่ยวกลุ่ม Domestic ไปเลยอาจทำให้กระทบกับตลาดนักท่องเที่ยว Domestic ของโรงแรมได้ ตัวอย่างเช่นกรณีของการทำกิจกรรมส่งเสริมการขายที่เน้นไปทาง Domestic ในปัจจุบันหากโรงแรมปรับรูปแบบกิจกรรมการส่งเสริมการขายมาเป็นการเน้นไปทาง Oversea เลยทันทีอาจทำให้นักท่องเที่ยวในประเทศลดความสนใจกับโรงแรมลงเพราะไม่มี Promotion ที่เอื้อต่อพฤติกรรมนักท่องเที่ยวไทยที่น่าสนใจอีกสาเหตุที่ต้องระมัดระวังเรื่องนี้เพราะเราเองก็อาจจะยังไม่สามารถพูดได้เต็มปากว่าถ้าเปลี่ยนการทำตลาดจาก Domestic ไปเป็น Overse รับการเปิดประเทศเลยทันทีสถานการณ์การท่องเที่ยวและตลาดต่างประเทศจะเข้ามาท่องเที่ยวได้มากน้อยแค่ไหน? หรือเราจะต้องเจอสถานการณ์ Lockdown อีกครั้งหรือเปล่า? เพราะหากมันเกิดเหตุการณ์เลวร้ายลักษณะนี้ขึ้นการจะกลับมาทำตลาด Domestic อีกครั้งอาจเป็นเรื่องยากพอสมควร นอกจากนี้ยังมีเรื่องของการ Balance การทำตลาดและ Forcaste รายได้จากนักท่องเที่ยวต่างชาติซึ่งไม่ควร Focus ตลาดนักท่องเที่ยวชาติใดชาติหนึ่งเป็นหลักเพราะสถานการณ์ในประเทศต้นทางของนักท่องเที่ยวจากชาติต่างๆ ทั่วโลกนั้นหากแม้สามารถกลับมาเดินทางไปท่องเที่ยวนอกประเทศได้เหมือนเดิมแต่ก็ไม่มีอะไรมารับประกันว่าสถานการณ์จะไม่เลวร้ายจนอาจจะเกิดการสั่งปิดประเทศต้นทางของนักท่องเที่ยวอีกครั้งก็ได้ดังนั้นการทำตลาดควรแบ่งสัดส่วนนักท่องเที่ยวแต่ละชาติให้เหมาะสมกับสภาพของตลาดนักท่องเที่ยวและสถานการณ์การแพร่ระบาดของประเทศต้นทางของนักท่องเที่ยวนั้นๆ


  1. โครงการส่งเสริมการท่องเที่ยว แม้โครงการเราเที่ยวด้วยกันจะหมดอายุลงในปีหน้าแต่ก็มีความเป็นไปได้ที่ในอนาคตน่าจะมีโครงการอื่นๆ ออกมาส่งเสริมการท่องเที่ยวและพยายามผลักดันให้อุตสาหกรรมการโรงแรมและการท่องเที่ยวกลับมาเป็นรายได้หลักของประเทศอีกครั้งอย่างชัดเจน ดังนั้นเราควรนำข้อมูลและวิธีการต่างๆ ที่โรงแรมได้ใช้เพื่อเข้าสู่โครงการที่เป็นมาตรการส่งเสริมการท่องเที่ยวของภาครัฐมาวางแผนและคาดคะเนโครงการใหม่ที่จะออกมาเพื่อหาทางใช้ประโยชน์จากนโยบายภาครัฐในอนาคตให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด จุดไหนที่โรงแรมทำได้ดีอยู่แล้ว จุดไหนที่โรงแรมต้องปรับปรุง เมื่อทราบถึงสองสิ่งนี้แล้วจะสามารถทำให้เราวางแผนการบริหารจัดการโรมให้สอดคล้องกับนโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยวได้ในอนาคตอย่างดีที่สุด


ทั้งหมดนี้คือสถานการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้นในอุตสาหกรรมโรงแรมหลังการประกาศเปิดประเทศทั้งในด้านของบุคคลากร ปัจจัยแวดล้อมภายในและปัจจัยแวดล้อมภายนอกที่ไม่สามารถควบคุมได้ซึ่งในฐานะผู้ประกอบการและบุคคลากรในอุตสาหกรรมโรงแรมเป็นเรื่องปกติที่ในโลกธุรกิจนั้นองค์กรมักจะมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอแต่จะเปลี่ยนแบบรุนแรงมากแบบ Radical Change หรือเป็นแบบ Incremental change ก็อยู่ที่สถานการณ์ของ Trend ธุรกิจ ณ ขณะนั้น





Hotel Man - Pop Natthapat


บทความแนะนำ