วันเสาร์ที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2564

The Pavilions Hotel and Resort

 Cryptocurrency เริ่มทยอยเข้ามาในอุตสาหกรรมการโรงแรมและการท่องเที่ยวแล้วนะครับ


จากข่าวด้านล่างนี้เราก็น่าจะเห็นแนวโน้มได้บางอย่างนะครับเกี่ยวกับการเข้ามาของ Cryptocurrency ในอุตสาหกรรมโรงแรมที่เริ่มจะมีการค่อยๆ ทดลองรับการชำระกันด้วยสกุลเงิน Crypto เพิ่มขึ้นแม้อาจจะยังไม่แพร่หลายแต่เป็นแบบค่อยเป็นค่อยไปก็ตาม ในส่วนของผู้ให้บริการเชื่อมต่อการรับชำระอย่างระบบ Payment Gateway ก็เริ่มมีผู้ให้บริการหลากหลายเพิ่มขึ้นซึ่งก่อนหน้านั้นเราก็จะเห็นระบบนี้จากทาง Binance Pay หรือ Crypto.com Pay, ณ​ ตอนนี้ก็ได้ทราบข้อมูลเพิ่มว่ามี Coindirect เพิ่มขึ้นมาอีกหนึ่งราย อนาคตส่วนตัวเฮียคิดว่าถ้า Ecosystem ของการรับชำระเงินด้วย Cryptocurrency ขยายตัวมากขึ้นเราน่าจะได้เห็นการรับชำระเงินด้วยสกุลเงิน Cryptocurrency ในอีกหลายโรงแรมครับ

เนื้อหาข่าว: The Pavilions Hotels & Resorts กลุ่มโรงแรมระดับ Luxury Boutique Hotels ที่มี Corporate Head Office อยู่ที่ Hong Kong ประกาศให้แขกผู้เข้าพักสามารถจองห้องพักโดยใช้ Cryptocurrency ในการชำระเงินได้แล้วโดยผู้จองห้องพักสามารถเลือกชำระค่าจองด้วย Cryptocurrency ได้มากถึง 40 สกุลเงิน อาทิ BTC ETH DAI USDC USDT DOGE XRP VET XLM เป็นต้น โดยทาง Pavilions ประกาศว่าทางกลุ่มโรงแรมถือเป็น "กลุ่มโรงแรม Boutique Hotels กลุ่มแรกในโลกที่เปิดรับชำระการจองห้องพักด้วย Cryptocurrency"
สำหรับการจัดการระบบนั้นทาง Pavilions Hotels & Resorts ได้ทำการเป็นพันธมิตรเชื่อมต่อระบบรับชำระเงินกับ "Coindirect" ซึ่งเป็น Exchange สำหรับซื้อขายแลกเปลี่ยน Cryptocurrency และเป็น Payment Gateway สำหรับผู้ที่ต้องการรับชำระเงินจากการขายสินค้าและบริการด้วยสกุลเงิน Cryptocurrency คอยให้บริการซึ่งจุดเด่นของ Coindirect คือรูปแบบการให้บริการที่ครบวงจรตั้งแต่ ซื้อ ขาย แลกเปลี่ยน สกุลเงิน Cryptocurrency บริการระบบ Payment Gateway สำหรับจัดการรับชำระเงินให้กับร้านค้าพันธมิตรและยังมีบริการ Cross Border Payment ซึ่งสามารถแลกเปลี่ยนสกุลเงิน Cryptocurrency กับสกุลเงิน Fiat (สกุลเงินที่ใช้งานกันทั่วไปเช่น บาท ดอลลาร์ ยูโร) ทำให้ผู้ใช้บริการได้รับความสะดวกสบายและบริหารจัดการความเสี่ยงด้านความผันผวนของสกุลเงิน Cryptocurrency ได้ดียิ่งขึ้น ปัจจุบัน Platform ของ Coindirect มีสกุลเงิน Crypto เคลื่อนไหวอยู่ในระบบกว่า 300 ล้านยูโร มีผู้ลงทะเบียนใช้งานแล้วกว่า 321,000 User (ข้อมูล ณ 16 SEP 2021) ข้อมูลเพิ่มเติมสำหรับ Coindirect >> https://www.coindirect.com

สำหรับวิธีการจองและชำระเงินด้วย Cryptocurrency กับโรงแรมในเครือ The Pavilions Hotels & Resorts คือ
- แขกต้องจองตรงกับทางโรงแรมผ่านทาง E-Mail
- หลังจากที่ได้รับการยืนยันการจองแล้วทางโรงแรมจะส่งลิงก์การชำระเงินไปให้แขกดำเนินการซึ่งลิงก์นี้จะใช้ได้ 90 นาทีเท่านั้นและหากทำการชำระเงินแล้วจะไม่สามารถคืนเงินได้
- แขกกรอกรายละเอียดการชำระเงินจากกระเป๋าเงิน (Crypto Wallet) ผ่านรหัส QR หรือหมายเลขกระเป๋าเงิน (Crypto Wallet)
- หลังจากเสร็จขั้นตอนแล้วแขกจะได้รับการยืนยันการจองและเตรียมตัวเดินทางมาเข้าพักได้ต่อไป

การเปิดประสบการณ์ด้านการรับชำระเงินด้วย Cryptocurrency นี้ ทาง Mr. Gordon Oldham - Founder & Owner ของทาง The Pavilions Hotels & Resorts กล่าวว่า “ประสบการณ์เฉพาะบุคคลคือหัวใจสำคัญของ DNA ของเรา การยอมให้มีความยืดหยุ่นในการชำระเงินรวมกับการรักษาความปลอดภัยและความอุ่นใจสำหรับแขกของเราเป็นขั้นตอนต่อไปในการให้บริการส่วนบุคคลและตามความต้องการ”

ในส่วนพันธมิตรด้านการรับชำระเงินของ The Pavilions Hotels & Resorts อย่าง Coindirect ทาง Mr. Jesse Hemson-Struthers Founder & CEO ของทาง Coindirect กล่าวเพิ่มเติมว่า"เราภูมิใจที่ได้มอบแพลตฟอร์มสำหรับคู่ค้าสำหรับการชำระเงินที่ปลอดภัยด้วยสกุลเงินดิจิตอลกว่า 40 สกุล นี่เป็นปัจจัยสำคัญสำหรับ The Pavilions Hotels & Resorts เพื่อให้แน่ใจว่าบริการชำระเงินแบบ end-to-end มีความปลอดภัย ยืดหยุ่น และง่ายสำหรับแขกเมื่อทำการจอง ประสบการณ์ครั้งต่อไปของพวกเขาที่ The Pavilions Hotels & Resorts ทั่วโลก”

สำหรับ The Pavilions Hotels & Resort ปัจจุบัน มี Hotels & Resorts และ Pavillion Residence ภายใต้ Portfolio ของกลุ่มครอบคลุม 14 แห่งทั่วโลก รวมถึงบาหลี นิเซโกะ (ญี่ปุ่น) และภูเก็ตในเอเชีย อัมสเตอร์ดัม มาดริด และโรมในยุโรป และยังมีโรงแรมใหม่ที่เพิ่งเปิดใหม่ ได้แก่ The Pavilions Anana Krabi, The Pavilions Phuket Residence, Cape Amarin ในภูเก็ต และ The Pavilions El Nido เกาะปาลาวันในฟิลิปปินส์
Credit รูปภาพและรายละเอียดการรับชำระเงินด้วย Cryptocurrency : https://www.pavilionshotels.com/cryptocurrency-payments/

Credit News: By MELISSA STEWART
https://cnaluxury.channelnewsasia.com/experiences/the-pavilions-hotels-resorts-cryptocurrency-bookings-186456?fbclid=IwAR3Dsaz34HnKBXHtVZfoVW2Yvy2CXGS7kv5AJDnQxUHBtRnVoAZjv11sq-s

Clip บทบาทของ Cryptocurrency ต่ออุตสาหกรรมโรงแรมในอนาคต : https://youtu.be/Wu-mWxcU4nk

วันศุกร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2564

Welcome to the Hospitality business!!!. Bill Gates

 Welcome to the Hospitality business!!!. Bill Gates

สารภาพตามตรงว่าตอนเฮียเห็นข่าวนี้แรกๆ ก็ค่อนข้าง งง นิดนึง ความคิดส่วนตัวเฮียไม่ได้คิดถึงเรื่องว่า Bill Gates แกหันมาสนใจธุรกิจโรงแรมด้วยความชอบหรือเหตุผลส่วนตัวอะไรนะครับแต่กำลังคิดถึงเรื่องของการขยายธุรกิจเข้ามาในตลาดโรงแรมของ Microsoft เป็นอันดับแรกแต่พอดูรายละเอียดเนื้อหาข่าวแล้วก็น่าจะไม่ได้มีอะไรเกี่ยวข้องกัน (ณ ตอนนี้)




โดยบริษัท Cascade Investment LLC ของ Bill Gates
ประกาศซื้อหุ้นมูลค่า 2.2 พันล้านดอลลาร์ใน Chain โรงแรม Four Seasons Hotels โดยจะทำการชำระเงินสด 2.2 พันล้านดอลลาร์ เพื่อเพิ่มสัดส่วนการถือหุ้นใน Four Seasons Holdings เป็น 71.25% จาก 47.5% โดยหุ้นที่ซื้อเพิ่มเข้ามาคิดเป็นครึ่งหนึ่งของหุ้นที่มีอยู่ 47.5% ที่บริษัท Kingdom Holding เป็นเจ้าของ สำหรับธุรกรรมการซื้อขายจะมีมูลค่าถึง 10,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และการดำเนินการซื้อขายคาดว่าจะแล้วเสร็จในเดือนมกราคม 2565 ในส่วนของ Mr. Isadore Sharp ประธานบริษัท Four Seasons ผู้ก่อตั้งบริษัทในปี 1960 จะยังคงถือหุ้นอยู่ 5%

ประเด็นที่น่าสนใจจากการซื้อขาย...

- มุมมองต่อธุรกิจโรงแรมของ Bill Gates เนื่องจากในขณะที่หลายคน หลายฝ่าย กูรู ต่างๆ นาๆ ต่างวิเคราะห์กันว่าธุรกิจโรงแรมน่าจะใช้เวลาอีก 3 - 5 ปีในการฟื้นตัวกว่าที่จะกลับมาดำเนินกิจกรรมได้ตามปกติแต่การเข้ามาลงทุนในธุรกิจโรงแรมของ Bill Gates เป็นอะไรที่สวนทางกับสิ่งที่นักวิเคราะห์และคนอื่นๆ กำลังมองอยู่ ซึ่งตรงนี้ถ้าตีความกันแบบไม่ซับซ้อนก็อาจจะวิเคราะห์ไปได้ว่าอาจจะเป็นความชอบส่วนตัวของ Bill Gates ต่อกลุ่มโรงแรม Four Season Hotels และอาจจะมองว่า "ธุรกิจโรงแรมยังไปได้แม้จะอยู่ในช่วงของการต้องต่อสู้กับวิกฤต COVID-19" ซึ่งข้อมูล ณ ตอนนี้ก็ยังไม่สามารถวิเคราะห์ได้ว่า Bill Gates มองการลงทุนครั้งนี้ยังไงแต่มีความคาดหวังกันในกลุ่มของ Four Season ว่าการเข้ามาของ Bill Gates จะช่วยผลักดันวิสัยทัศน์ของ Four Season ให้เป็นบริษัทหรูหราชั้นนำของโลก

- กลุ่มบริษัทที่ทาง Bill Gates ไปซื้อหุ้นเพื่อกลายเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ใน Four Season Hotels คือบริษัท Kingdom Holding Company ซึ่งเป็นกลุ่มทุนจากประเทศซาอุดิอาระเบีย โดยมี เจ้าชายอัลวาลีด บิน ทาลัล ทรงเป็นประธานบริษัท ประเด็นนี้มีสิ่งที่น่าสนใจคือการเข้าลงทุนในครั้งนี้อาจมองได้ว่า Bill Gates เริ่มหันมาสนใจธุรกิจโรงแรมหรือไม่? เพราะปัจจุบัน Kingdom Holding Company ยังคงมีสินทรัพย์ที่เป็นโรงแรมภายใต้การลงทุนอีกหลายแห่ง อาทิ
- Hotel George V ในฝรั่งเศส
- Kingdom Hotels Investments ในซาอุดิอาระเบีย
- Mövenpick Hotels & Resorts ในสวิสเซอร์แลนด์

สำหรับ Kingdom Holding Company ถ้าจำกันได้ตอนที่ Accor Hotels ซื้อ FRIH (Fairmont and Raffles International Hotels) จากกลุ่มทุน QIA ของกาตาร์ ตัวบริษัท Kingdom Holding Company ก็เป็นหนึ่งในสามผู้ถือหุ้นหลักของ FRHI ร่วมกับ QIA และ Oxford Properties Group. ปัจจุบัน Kingdom Holding Company ยังคงถือหุ้นส่วนน้อยใน FRHI ร่วมกับ Accor อยู่

- ข้อมูลของ Four Season Hotels and Resort ก่อตั้งขึ้นโดยนักธุรกิจชาวแคนนาดา Mr. Isadore Sharp ในปี 1960 โดยมีโรงแรมแห่งแรกคือ Four Seasons Motor Hotel เปิดให้บริการในปี 1961 ที่โตรอนโต ประเทศแคนนาดา ปัจจุบันมีโรงแรมและรีสอร์ทในการบริหาร 121 แห่งและ Residential 46 แห่ง ใน 47 ประเทศทั่วโลกบวกกับอีก 50 แห่งที่อยู่ระหว่างการพัฒนา

ส่วนตัวเฮียคิดว่าหากคนระดับ Bill Gates ที่ผ่านร้อนผ่านหนาวด้านการลงทุนและดูแลกิจการมาแล้วมากมายหันมาลงทุนในธุรกิจโรงแรมที่หลายคน หลายฝ่าย กำลังมองว่า "เป็นธุรกิจที่บอบช้ำจาก COVID-19 และต้องใช้เวลาสักระยะกว่าอุตสาหกรรมการโรงแรมและการท่องเที่ยวจะฟื้น" คงมีเหตุผลบางอย่างที่เราน่าจะเห็นความชัดเจนกันในไม่ช้านี้
Credit ที่มาข่าว https://www.businessinsider.com/bill-gates-four-season-cascade-investment-firm-controlling-stake-hotels-2021-9?amp&fbclid=IwAR2-ZwUrwRVDz49ckKIWL8rxad9TdbmlC8YQQsbtw5Z-jQTOR2r0AerDF7A

วันอังคารที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2564

Financial and IT อีกหนึ่งความท้าทายในอุตสาหกรรมโรงแรม

 

Financial and IT อีกหนึ่งความท้าทายในอุตสาหกรรมโรงแรม



ช่วงที่อุตสาหกรรมโรงแรมกำลังประสบกับมรสุม COVID-19 อยู่นี้นอกเหนือจากคำถามที่เกิดขึ้นว่า “จะต้องทำอย่างไร? ใช้วิธีการอย่างไร?” จึงจะสามารถรอดพ้นวิกฤตนี้ไปได้ ยังมีอีกหนึ่งคำถามที่เกี่ยวข้องกับเรื่องของการปรับตัวรองรับ New Normal ในด้านการทำงาน การให้บริการแขกผู้เข้าพัก และที่สำคัญ “เทคโนโลยีใหม่ๆ ที่จะถูกนำมาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการของโรงแรม” ว่าจะต้องทำอย่างไรและทำให้เป็นไปในทิศทางไหน? แผนกอะไรบ้างที่จำเป็นต้องปรับตัว? ซึ่งคำตอบก็คงตอบได้ ณ จุดนี้ว่าทุกแผนกของโรงแรมอาจต้องเจอกับ New Wave ของรูปแบบการทำงานรูปแบบใหม่ที่จะเข้ามาจากการที่ผู้ประกอบการโรงแรมต้องพยามปรับตัวเพื่อลดรายจ่ายและเพิ่มรายได้พร้อมวางแผนการบริหารจัดการความเสี่ยง (Risk Management) ในอนาคตเพราะมีบทเรียนจากวิกฤต COVID-19 ที่ผ่านมาแน่นอนว่าทุกแผนกต้องทำการปรับตัวรับพฤติกรรมนักท่องเที่ยวที่เปลี่ยนไปแต่มีอยู่ 2 แผนกที่น่าจะเจอความท้าทายมากเป็นพิเศษจากผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงในโลกธุรกิจแห่งอนาคตนั่นคือ

1. Financial Department หรือฝ่ายการเงิน ความท้าทายแรกที่ส่วนงานนี้หลีกเลี่ยงไม่ได้ในนั่นคือการปรับตัวเข้าสู่ Cashless Society (สังคมไร้เงินสด), Cryptocurrency (สกุลเงินดิจิทัล), และ Utility Token, 

1.1 Cashless Society หากจะนึกภาพในปัจจุบันถ้าพูดถึงเรื่องของ “สังคมไร้เงินสด” เราคงจะนึกภาพการชำระเงินของแขกให้กับโรงแรมในรูปแบบของการสแกน QR Code, การจ่ายผ่านระบบ Promptpay, เป็นหลัก แต่ในปัจจุบันและอนาคตอันใกล้มันจะมีนิยามมากกว่านั้นเพราะภาคอุตสาหกรรมการเงินซึ่งมีผู้เล่นหลักเป็นสถาบันการเงินกำลังถูกผู้เล่นใหม่ในนิยามของความเป็น FinTech หรือ Financial Technology เข้ามาสร้างการให้บริการทางการเงินรูปแบบใหม่ซึ่งบริการหนึ่งที่ก่อนหน้านี้เริ่มค่อยๆ ได้รับความนิยมและมาเติบโตอย่างก้าวกระโดดขึ้นอีกในช่วง COVID-19 ที่ผู้บริโภคต้องการลดกิจกรรมที่จะทำให้เกิดการสัมผัสอันเสี่ยงต่อการติดเชื้อและธนบัตรเองก็เป็นอีกแหล่งสะสมเชื้อโรคที่ต้องระมัดระวังนั่นคือบริการ e-Money โดยการสำรวจจากธนาคารแห่งประเทศไทยจนถึง ณ วันที่ 31 สิงหาคม 2563 พบว่ามีผู้ใช้งานบัญชี E-Money มากถึง 99.43 ล้านบัญชีในช่วงสถานการณ์ COVID-19 ระบาดมีการเพิ่มขึ้นมากถึงเดือนละ 2 ล้านบัญชี ผู้ให้บริการ E-money ที่เรารู้จักกันดี เช่น True money wallet, Rabbit Linepay, Airpay, mPay, grabpay, Dolfin, ในระดับโลก เช่น Aliay, Wechatpay, Apple Pay, Amezon Pay, ซึ่งระบบเหล่านี้แม้จะต้องเติมเงินหรือผูกกับบัญชีบัตรเครดิตเข้าไปเพื่อเติมเงินแต่สิ่งที่เป็นข้อได้เปรียบและเริ่มทำให้บริการเหล่านี้ได้รับความนิยมนอกเหนือจากการลดการสัมผัสคือการที่ผู้ใช้งานไม่จำเป็นต้องเปิดบัญชีธนาคารเพื่อให้สามารถทำธุรกรรมทางการเงินได้เพียงแค่สมัครเปิดบัญชีกับผู้ให้บริการก็สามารถใช้บริการและเติมเงินเข้าระบบก็สามารถใช้บริการกับ e-Money เจ้าต่างๆ ได้แล้วความท้าทายของฝ่ายการเงินในที่นี้คือเมื่อพฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยน ความนิยมเปลี่ยน แม้ภาคอุตสาหกรรมการเงินจะได้รับผลกระทบโดยตรงแต่ก็ปฎิเสธไม่ได้ว่ามันส่งผลกระทบทางอ้อมกับอุตสาหกรรมโรงแรมด้วยเช่นกัน ดังนั้นการที่ต้องศึกษาและหาทางเชื่อมต่อระบบการชำระเงินของโรงแรมกับผู้ให้บริการ e-Money เป็นอีกความท้าทายหนึ่งของฝ่ายการเงินของโรงแรม

1.2 Cryptocurrency หรือสกุลเงินดิจิทัล ซึ่งปัจจุบันนี้กำลังได้รับความนิยมเพราะเป็นอีกหนึ่งหนทางในการเก็งกำไรของนักลงทุนทั้งระยะสั้นและระยะยาว ทั่วโลกมีจำนวนผู้ใช้ Blockchain Wallet Users สำหรับเก็บรักษาเงิน Cryptocurrency ของตนเองมากกว่า 68.42 ล้าน Users (www. financesonline.com/number-of-blockchain-wallet-users) ในด้านการขายและการตลาดนี่คือโอกาสในการเข้าถึงฐานลูกค้ากลุ่มใหม่คือกลุ่มผู้ที่ถือสกุลเงิน Cryptocurrency ต่างๆ และกำลังหาทางในการนำสกุลเงินเหล่านั้นของตนเองไปใช้ในชีวิตประจำวันให้ได้มากขึ้นซึ่งการท่องเที่ยวก็ถือเป็นอีกหนึ่งกิจกรรมที่ลูกค้ากลุ่มนี้มองหาโอกาสในการนำเงิน Cryptocurrency ของตนเองไปใช้ ในส่วนของฝ่ายการเงินนี่คืออีกหนึ่งความท้าทายเพราะในสภาวะของการฟื้นฟูธุรกิจโรงแรมจำเป็นที่จะต้องมองหาทุกโอกาสที่เข้ามาและตลาดนี้ถือเป็นอีกหนึ่งตลาดที่มีการเติบโตอย่างน่าสนใจแน่นอนว่าความซับซ้อนในการรับชำระค่าบริการโดยใช้สกุลเงิน Cryptocurrency ย่อมมีรายละเอียดที่ต้องเรียนรู้อย่างระมัดระวังทำให้ต้องทำความเข้าใจอย่างมากในช่วงแรกยังไม่นับรวมความผันผวนของสกุลเงิน Cryptocurrency ต่างๆ ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งความท้าทางที่ฝ่ายการเงินต้องเรียนรู้และหาทางป้องกันแม้จะมองว่าการรับชำระค่าบริการด้วยสกุลเงิน Cryptocurrency จะเป็นปัญาในช่วงแรกและอาจได้รับแรงต้านจากพนักงานเพราะต้องปรับตัวหลายๆ อย่างแต่ในระยะยาวนี่คืออีกหนึ่งตลาดที่ไม่สามารถปฎิเสธความน่าสนใจได้ในอนาคตอันใกล้นี้ซึ่งอาจจะเชื่อมโยงไปสู่การเป็น Digital Asset Management ได้อีกในระยะถัดไป

1.3 Utility Token (พร้อมใช้) หรือ Token เพื่อการนำไปใช้ประโยชน์ซึ่งสามารถนำไปใช้งานได้ตั้งแต่วันแรกที่ซื้อ เป็นอีกหนึ่งวิศวกรรมทางการเงิน (Financial Engineering) ที่จะถูกหยิบนำมาใช้ในโรงแรมที่ต้องการเพิ่มกระแสเงินสด (Cash Flow) เนื่องจากลักษณะของ Utility Token จะเป็นการให้สิทธิประโยชน์ต่อผู้ถือ ซึ่งในทางการสร้างกระแสเงินสดนั้นถ้าสิทธิประโยชน์ที่โรงแรมให้กับผู้ถือ Token น่าสนใจจะเอื้อต่อการนำมาซึ่งกระแสเงินสดรับล่วงหน้าที่ดี เช่น กรณีที่โรงแรมออก Utility Token ออกมาจำหน่ายและให้สิทธิผู้ถือในการได้รับส่วนลด 50% จากการจองในทุกระดับราคาห้องพักและทำการออกจำหน่าย Token กรณีนี้โรงแรมจะได้รับกระแสเงินสดเข้ามาก่อนล่วงหน้าเพราะการนำมาใช้งานลูกค้าจะค่อยๆ ทยอยมาใช้งานทีหลังถือเป็นอีกหนึ่งความท้าทายของฝ่ายการเงินในการต้องศึกษาและทำความเข้าใจกับระบบการทำงานของ Utility Token (พร้อมใช้) ที่น่าจะมาเป็นประโยชน์ให้กับโรงแรมได้

2. แผนก IT ซึ่งหากมองเนื้องานของฝ่ายนี้ในโรงแรมยุคแรกๆ โลกยังไม่ก้าวเข้าสู่ความเป็น Digitalization ที่ทุกกิจกรรมของมนุษย์มีระบบ Digital เข้ามาเกี่ยวข้องเหมือนทุกวันนี้งาน IT ในช่วงแรกจะเป็นไปในลักษณะของการ “ดูระบบการทำงานด้าน IT ของโรงแรมให้แผนกต่างๆ ทำงานได้อย่างไหลลื่นไม่ติดขัด” ยุคต่อมาที่ Internet เริ่มมีความสำคัญมากขึ้น งานของ IT นอกจากจะเกี่ยวข้องกับการดูแลระบบต่างๆ ในโรงแรมแล้วยังเพิ่มเติมเรื่องของ “การดูแลสัญญาณ Internet ให้กับแขกผู้เข้าพักได้ใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย” เพราะในยุคแรก Internet ตามโรงแรมจะไม่ได้ถูกปล่อยให้ใช้งานฟรีแบบทุกวันนี้แต่จะเป็นการขายตาม Package การใช้งานซึ่งความคาดหวังของแขกจะสูงเพราะเป็นการจ่ายเงินเพื่อให้ได้มาซึ่งการบริการ สำหรับในอนาคตอันใกล้นี้สิ่งที่เป็นความท้าทายของแผนก IT คือ

2.1 ระบบ Cyber Security หรือ การรักษาความปลอดภัยทาง Cyber ถือเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างมากในปัจจุบันและในอนาคตเนื่องจากโรงแรมมีปริมาณข้อมูลจำนวนมหาศาลจากการใช้งานของแขกผู้เข้าพักและจากการที่แขกทุกคนสามารถใช้ระบบ Internet ได้ทำให้การเข้าสู่ Website บาง Website ของแขกอาจนำมาซึ่งการเข้าโจมตีระบบจากผู้ไม่หวังดีรวมทั้งการถูก Hack ข้อมูลของแขกและโรงแรมออกไปใช้ในทางที่เสียหายได้แน่นอนว่าการจะหาฝ่าย IT ที่มีความชำนาญด้านระบบ Cyber Security นี้อาจหาได้ยากเพราะในประเทศไทยมีน้อยคนที่จะเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านนี้อย่างแท้จริงซึ่งถือเป็นอาชีพที่ยังขาดแคลนบุคคลากรที่มีอยู่ส่วนให่นั้นจะถูกบริษัทใหญ่และหน่วยงานรัฐซื้อตัวไปดูแลระบบขององค์กรเพราะเรื่องความปลอดภัย Cyber เป็นสิ่งสำคัญที่ทุกองค์กรต้องให้ความสำคัญเนื่องด้วยสอดคล้องกับกระแสธุรกิจยุคใหม่ที่ขับเคลื่อนด้วย Big Data ทุกภาคส่วนทั้งรัฐและเอกชนจึงพยายามเก็บข้อมูลประชาชนและผู้บริโภคให้ได้มากที่สุดเพื่อนำไปวางแผนด้านนโยบายสำหรับภาครัฐและด้านการตลาดสำหรับภาคเอกชน แต่เรื่องนี้ทางออกของโรงแรมอาจเป็นการจ้างผู้เชี่ยวชาญมาดูแลหรือวางระบบให้โดยทำงานร่วมกับฝ่าย IT ของโรงแรมก็จะสามารถช่วยป้องกันปัญหานี้ได้และนั่นคือความท้าทายของแผนก IT ในโรงแรม

2.2 พ.ร.บ. ข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA) ซึ่งมีการประกาศใช้ออกมาแล้วและแน่นอนว่าเมื่อเป็นกฎหมายย่อมต้องปฎิบัติตามเพราะมีโทษที่กำหนดไว้หากเกิดการรั่วไหลของข้อมูลส่วนบุคคลออกไปจากโรงแรมความท้าทายนี้จะสอดคล้องกับระบบ Cyber Security ด้านบนเพราะถ้าป้องกันให้ดีการรั่วไหลนี้จะไม่เกิด พ.ร.บ.ข้อมูลส่วนบุคคลแม้จะเป็นเรื่องของฝ่ายกฎหมายแต่ก็เป็นอีกหนึ่งความท้าทายของฝ่า IT ที่ต้องทำความเข้าใจสาระสำคัญของข้อมูลด้วยเช่นกัน เพราะโรงแรมต้องมีการเชื่อมต่อกับระบบ Software ภายนอกในบางแผนก เช่น Front Office, Sales & Marketing, OTA, Finance, HR, ฯลฯ ดังนั้นเมื่อเชื่อมต่อกับผู้ให้บริการภายนอกแม้หลายรายจะมีความปลอดภัยด้านการใช้ระบบแต่ก็ต้องยอมรับว่าความเสี่ยงที่จะเกิดการรั่วไหลของข้อมูลจากการต้องส่งข้อมูลภายในของโรงแรมไปทำการวิเคราะห์และประมวลผลย่อมมีตามมา ดังนั้นความท้าทายของฝ่าย IT ที่เพิ่มขึ้นมาในอนาคตจะเป็นเรื่องของการต้องวิเคราะห์และประเมินความเสี่ยงในการเชื่อมต่อกับระบบภายนอกที่ต้องละเอียดและมีความเข้าใจพร้อมเสนอแนวทางป้องกันเบื้องต้นได้มากขึ้นกว่าแต่ก่อน

ทั้งหมดนี้คือส่วนงานที่น่าจะได้รับความท้าทายมากที่สุดในโรงแรมหลังการกลับมาของกิจกรรมด้านการท่องเที่ยวซึ่งเป็นเพียงการคาดการณ์เบื้องต้นเพราะในอนาคตรายละเอียดอาจมีมากขึ้นกว่านี้ก็เป็นได้แต่ถึงอย่างไรเราก็คงต้องยอมรับว่าอาจจะต้องมีการปรับรูปแบบการดำเนินการในโรงแรมอีกครั้งในระยะเวลาอันใกล้นี้

N. Kamolpollapat – Hotel Man

7 September 2021

20.12 Hrs.

บทความแนะนำ