วันเสาร์ที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2565

ขอแสดงความยินดีกับชาว Accor ด้วยนะครับ


แอคคอร์ (Accor) ได้รับรางวัลบริษัทท่องเที่ยวที่ยั่งยืนที่สุด (The Most Sustainable Travel Company) จากงานประกาศผลรางวัล TTG Travel Awards 2022 ที่จัดขึ้นเป็นครั้งที่ 31 ที่กรุงเทพฯ ประเทศไทย นอกจากนี้ไอบิส (ibis) แบรนด์โรงแรมราคาประหยัดของแอคคอร์ ยังได้รับรางวัลแบรนด์โรงแรมราคาประหยัดที่ดีที่สุด (Best Budget Hotel Brand) เป็นครั้งที่เจ็ดอีกด้วย
รางวัล TTG Travel Awards เป็นหนึ่งในรางวัลที่ทรงอิทธิพลที่สุดในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก จัดขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแก่องค์กรชั้นนำและบุคลากรในวงการที่มุ่งมั่นมอบความเป็นเลิศในด้านการบริการมาตั้งแต่ปี 1989
Accor เป็นกลุ่มโรงแรมรายใหญ่กลุ่มแรกที่ก่อตั้งแผนกสิ่งแวดล้อมขึ้นในปี 1994 ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา บริษัทได้ยืนหยัดในตำแหน่งผู้นำผ่านเป้าหมายที่มุ่งเน้นการลดการใช้พลังงาน การปกป้องสิ่งแวดล้อม การสนับสนุนชุมชนในท้องถิ่นและการสร้างอนาคตที่ยั่งยืนยิ่งขึ้น Accor Solidarity ได้รับการจัดตั้งขึ้นในปี 2561 และได้สนับสนุนโครงการชุมชนกว่า 450 โครงการใน 50 ประเทศจนถึงปัจจุบัน ในปี 2564 Accor มุ่งมั่นที่จะบรรลุการปล่อยคาร์บอน Net Zero ภายในปี 2593 ปัจจุบันกลุ่มบริษัทกำลังกำจัดพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้งทั้งหมดออกจากพื้นที่ประสบการณ์ของแขกและกำลังทำงานในการริเริ่มเพื่อลดขยะอาหาร
แอคคอร์เป็นกลุ่มโรงแรมที่ใหญ่ที่สุดและมีความหลากหลายทางภูมิศาสตร์มากที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ปัจจุบันกลุ่มบริษัทดำเนินการโรงแรมมากกว่า 370 แห่งภายใต้แบรนด์โรงแรม 18 แบรนด์ทั่วภูมิภาค โดยมีโรงแรมอีก 120 แห่งที่จะเข้าร่วมเครือข่ายภายในห้าปีข้างหน้า
Nontawan Laohakiat (Toey)
Assistant Manager, Communications
Southeast Asia, Japan & South Korea

การตามแขก Check Out

หลายคนน่าจะมีประสบการณ์ในการตามแขก Check Out โดยรอบเช้าจะรับผิดชอบในการที่จะต้องติดตามแขกให้ลงมา Check Out ภายในเวลาเที่ยงวันเพื่อให้แม่บ้านขึ้นไปทำให้เตรียม C/I ต่อในตอนบ่ายสองโมง ซึ่งปกติแขกถ้าไม่ได้จ่าย LCO หรือ FOC LCO กรณีที่ขอแล้วและมีห้องว่างโรงแรมก็จะให้ได้ (บางที่นะ) ไว้ก็จะลงมา C/O ตามเวลาที่กำหนดไว้แต่ก็มีบางคนที่ไม่ได้แจ้งไม่ได้จ่ายอะไรก็จะเนียนๆ และนี่คือ 5 เหตุผลของ FTG ที่ไม่ลงมา Out ยอดนิยม
1. เพิ่งว่ายน้ำเสร็จขึ้นมา สาเหตุนี่จะใช้ได้ดีในกรณีที่ FTG ขอ FOC LCO แล้วไม่ได้อาจจะด้วยเพราะ Occ. มันสูงและสถานการณ์เป็น Back to Back ดังนั้นการที่รู้ทั้งรู้ว่าต้องออกตอนเที่ยงก็จะมีการลงไปว่ายน้ำก่อนแล้วก็จะขึ้นห้องมาจากนั้นก็จะมีเหตุมีผลในการอ้างว่าง "เพิ่งว่ายน้ำมาขออาบน้ำแต่งตัวก่อน" เร่งมากก็จะถูกด่า ไม่เร่งมากส่วนใหญ่เวลา C/O ก็จะเลยไปถึงช่วงเวลาที่เคยขอพนักงานไว้ตอน C/I แล้วไม่ได้นั่นแล
2. ไปข้างนอกกลับมาไม่ทัน อันนี้จะแนวๆ เหมือนข้อแรกแต่จะเล่นใหญ่ที่ตอน C/I ขอ LCO แล้วไม่ได้พี่ก็เลยขับรถมันออกไปข้างนอกกันเลยแต่ก็จะใช้เหตุผลว่า "พี่เข้าไปไม่ทันเที่ยงนะขอช้าหน่อย" และเช่นเคย เวลาที่ช้ามันก็จะครบรอบเวลาที่ขอ LCO ไว้ตอนแรกนั่นแล
3. กำลังเก็บของอยู่ อันนี้ก็จะออกแนวเนียนๆ นิดนึงคือเก็บของตั้งแต่ 11:30 น. แต่กว่าจะเก็บเสร็จออกมาก็จะเป็นบ่ายโมงพอดี ระหว่างที่ตาม FTG ก็จะแจ้งเรื่อยๆ ว่า "เก็บของอยู่แป๊บนึง" เช่นเคย ตามมากก็จะโดนด่าได้แต่ถ้าไม่ตามก็จะไหลไปยาวๆ ตรงตามเวลาที่ขอ FOC LCO
4. ลูกพี่เล่นน้ำอยู่ รอให้เล่นเสร็จก่อนได้ไหม อันนี้จะออกแนวเหมือนข้อแรกแต่ FTG จะโยนให้ลูกรับไปแทนซะงั้น บางทีเดินไปดูไม่มีแขกห้องนี้อยู่ในสระสักคนก็ยังมีมาแล้ว
5. ไม่สบาย คืออันนี้ว่าไม่ได้จริงๆ เพราะป่วยจริง ป่วยการเมืองก็ไม่รู้ บางครั้งวันก่อนหน้า C/O เห็นปกติดี เที่ยวได้สบายๆ แต่พอขอ FOC LCO แล้วไม่ได้ป่วยขึ้นมาทันทีและเช่นเคยเวลาที่ C/O นี่ก็ตรงกับเวลาที่ขอ FOC LCO เป๊ะ ตามมาก็ไม่ได้เพราะจะดูใจดำ เลยต้องวัดใจกันไป
หมายเหตุ* ปัจจุบันนี้บางที่มี C/I ตอนไหน C/O ตอนนั้น ก็จะไม่มีปัญหานี้ หรือให้ได้ทุกครั้งที่แขกขอ FOC LOC อันนี้ก็จะไม่โดนปัญหานี้เช่นกัน และอีกอย่างคือถ้าคิดว่า "เราต้องกำหนดกฎระเบียบให้ชัดเจนจะได้ไม่มีปัญหาแบบนี้" อันนี้ก็ถูกครับแต่ใช้ไม่ได้กับแขกทุกคนอันดับแรกต้องตื่นก่อนนิดนึงเพราะขึ้นชื่อว่า FTG เขียนเต็มหน้ากระดาษ A4 เค้าก็หาทาง Complaint จนได้ ที่สำคัญเราต้องเรียนรู้ที่จะหาวิธีรับมือและแก้ปัญหาดีที่สุดครับ ทุกอย่างคือประสบการณ์กับงานที่เรารัก
มีอะไรที่พลาดไปกับ FTG ที่ขอ FOC LCO บ้างไหมนะ? มาต่อกัน

การปฏิเสธการจ่าย Service Charge 


สืบเนื่องจากกรณี "การปฏิเสธการจ่าย Service Charge" และพยายามสร้างบรรทัดฐานใหม่ให้กับการที่ผู้คน "ปฏิเสธการจ่ายค่า Service Charge ในร้านอาหาร" ถึงขั้นที่อยากให้มีการตัดสินคดีที่ไม่จ่ายค่า Service Charge เพื่อเป็นบรรทัดฐานของกรณีนี้" พร้อมเกิดการตั้งข้อสังเกตมากมายเกี่ยวกับการไม่สมควรมีค่า Service Charge ในร้านอาหาร (และอาจจะรวมถึงธุรกิจอื่นๆ)

ซึ่งเรื่องนี้ถ้าจำกันได้เราเคยมีการพูดคุยกันมาก่อนหน้านั้นแล้วเพียงแต่มันไม่ค่อยเจอในอุตสาหกรรมโรงแรมที่แขกส่วนใหญ่เข้าใจดีอยู่แล้ว (แต่อาจมีบ้างที่ปฏิเสธการจ่าย) ในการชำระราคาค่าห้องพักรวมกับ Service Charge และ VAT แต่สิ่งที่ไม่แน่นอนคือหากเรื่องนี้กลายเป็น Viral และเป็นกระแสสังคมที่จะเกิดการปฏิบัติกันมากขึ้นก็ไม่แน่ว่าประเด็นนี้อาจมีถึงธุรกิจโรงแรมอย่างเราๆ ได้เหมือนกันนะครับและนั่นอาจส่งผลกระทบต่อ Service Charge ที่เราได้ๆ กันอยู่ในแต่ละเดือนด้วยเช่นกัน ซึ่งประเด็นที่อยากพูดถึงเกี่ยวกับเรื่องนี้และอยากชวนทุกคนมาพูดคุยกันเป็นเรื่องของ "การที่ผู้บริโภค (แขก) จะปฏิเสธไม่จ่าย Service Charge" ได้หรือไม่?

1. ประเด็นการเรียกเก็บค่า Service Charge ปัจจุบันนี้กฎหมายไม่ได้มีข้อกำหนดว่า "ห้าม" เรียกเก็บค่า Service Charge เพียงแต่ตามข้อกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคของกรมการค้าภายในตามประกาศ เรื่องการต้องแสดงราคาสินค้าหรือบริการ ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ พ.ศ. 2542 ได้กำหนดอัตราการเรียกเก็บสูงสุดไว้ที่ "ห้ามเกิน 10%" เราจึงได้เห็นอัตราการเรียกเก็บในอุตสาหกรรมโรงแรมในอัตรานี้กันอย่างแพร่หลายถ้าจะว่ากันตามถูกผิดคือถ้าเรียกเก็บเกินอัตรานี้ย่อมไม่ถูกต้องตามที่กฏหมายกำหนดอย่างแน่นอนและเป็นเหตุให้ปฏิเสธการเรียกเก็บได้แต่ส่วนใหญ่โรงแรมเราก็ไม่เคยเก็บกันเกินอัตรานี้อยู่แล้ว

2. การเรียกเก็บ Service Charge อ้างอิงข้อกฎหมายเดียวกัน การที่เราจะเรียกเก็บค่า Service Charge นั้น ต้องมีการแจ้งอย่างชัดเจน ทั้งอัตราที่เรียกเก็บที่จะต้องแสดงให้ผู้บริโภคเห็นเป็นตัวเลขและข้อความอย่างชัดเจนแม้ไม่ได้ระบุว่าต้องติดตั้งอยู่ที่ใดแต่ก็ต้องให้เห็นได้ชัดเจนเพื่อให้ผู้บริโภคตัดสินใจก่อนใช้บริการว่า "ถ้ามีบริการนี้รวมอยู่ด้วยยินดีจะใช้บริการหรือไม่?" 

3. ผู้บริโภคมีสิทธิปฏิเสธการจ่าย Service Charge ได้ไหม อันนี้ถ้าว่ากันตามจริงหากเรามีการแจ้งราคาว่ารวมค่า Service Charge เรียบร้อยแล้วอย่างชัดเจนก็ถือว่าผู้บริโภคยอมรับที่จะจ่ายราคาสินค้าและบริการตามนั้นเพราะหากไม่ต้องการชำระค่าบริการส่วนนี้ผู้บริโภคที่ได้รับการแจ้งเตือนจากผู้ประกอบการแล้วมีสิทธิเลือกที่จะไม่ใช้บริการได้ตั้งแต่แรกเริ่ม

- นอกจากนี้มีกรณีศึกษาในส่วนของ Service Charge ตามประกาศของกรมสรรพากรเลขที่หนังสือ: กค 0702/4116 ผู้ประกอบกิจการขายอาหารได้เรียกเก็บค่าบริการ (service charge) ในอัตราร้อยละของค่าอาหารจากผู้บริโภคที่มาใช้บริการ โดยได้เรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มและออกใบกำกับภาษีให้กับผู้บริโภค ค่าบริการดังกล่าวถือเป็นส่วนหนึ่งของค่าอาหารตามมาตรา 79 แห่งประมวลรัษฎากร เข้าลักษณะเป็นการให้บริการที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 77/1(10) แห่งประมวลรัษฎากรและถือเป็นรายได้ของกิจการหรือเกี่ยวเนื่องจากกิจการตามมาตรา 65 แห่งประมวลรัษฎากร ที่ต้องนำมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษี เงินได้นิติบุคคลตามประมวลรัษฎากร โดยผู้ประกอบกิจการจะต้องบันทึกบัญชีตามหลักการบัญชีที่ยอมรับกันโดยทั่วไป

4. ถ้าไม่จ่ายค่า Service Charge ผิดไหม? จริงๆ อยู่อย่างที่เราทราบกันดีว่าถ้าแจ้งแล้วว่ามี Service Charge รวมอยู่ในค่าบริการเรียบร้อยแล้วและผู้บริโภคตกลงใช้บริการถือว่ายอมรับแล้วถ้าคิดแบบไม่ซับซ้อนก็ถือว่าผู้ประกอบการไม่ได้ทำผิดอะไรในการเรียกเก็บตามอัตราที่กำหนด เพราะหากผู้บริโภคไม่ยอมรับก็มีสิทธิปฏิเสธการใช้บริการได้พูดง่ายๆ ก็คือ "แจ้งเรียบร้อยถูกต้องถ้ายอมรับก็ชำระตามยอดที่เรียกเก็บรวม Service Charge ถ้าไม่ยอมรับก็ไม่ใช้บริการ" แต่ก็มีในกรณีที่ทราบแล้วว่าเรียกเก็บแต่ก็ยังต้องการใช้บริการแต่ไม่อยากจ่ายค่า Service Charge ซึ่งกรณีนี้ส่วนตัวเฮียก็ยังไม่เคยเจอนะที่จะเข้าข่ายความผิดข้อหาอะไรตามกฎหมาย? จะเหมารวมเป็นการไม่จ่ายค่าบริการที่รวม Service Charge ประเภท "กินแล้วไม่จ่าย" เลยได้ไหม? อันนี้ก็ยังไม่มีข้อกฎหมายไหนออกมาชัดเจนเหมือนกันว่า "ผิดหรือไม่อย่างไรกับการไม่จ่ายค่า Service Charge แม้จะแจ้งเรียบร้อยตั้แต่แรกแล้วก็ตามว่าเรียกเก็บ"

5. การปฏิเสธอีกอย่างหนึ่งในการไม่จ่าย Service Charge คือ "การได้รับบริการที่ไม่ดี" อันนี้ก็ต้องว่ากันเป็นกรณีไปเพราะคำว่า "บริการที่ไม่ดี" ของแต่ละคนนั้นไม่เหมือนกัน 

- มีรายละเอียดจากสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคอันหนึ่งที่ระบุว่า "หากพนักงาน ให้บริการไม่เป็นที่พอใจ ลูกค้าสามารถขอค่า service charge คืนได้ไหม จริงๆแล้วสถานที่ที่คิด service charge แพงเกินจริง หาเหตุผลไม่ได้ ภาครัฐมี พ.ร.บ. ว่าด้วยสินค้าและบริการ มาตรา 29 ควบคุม โดยระบุว่า ถ้าผู้ประกอบการขายจาหน่ายสินค้า ในลักษณะทาให้เกิดความปั่นป่วน สร้างกลไลการตลาดบิดเบี้ยว ราคาเกินจริง โดยชี้แจงสาเหตุที่เรียกเก็บราคาสูงเกินจริงไม่ได้ นั้น มีโทษจาคุกไม่เกิน 7 ปี ปรับไม่เกิน 1.4 แสนบาท หรือทั้งจาทั้งปรับ" 

แต่ถ้าเรามองตามสถานการณ์ปกติในกรณีที่ถ้าคิดตามอัตราที่กฎหมายกำหนดและไม่เกินจริงการเรียกเก็บค่า Service Charge ก็น่าจะมีสิทธิทำได้ในมุมของผู้ประกอบการเช่นกัน

6. กรณีที่มองว่าเงิน Service Charge เป็นส่วนของพนักงาน ในความเป็นจริงสำหรับอุตสาหกรรมโรงแรมไม่ใช่ทุกโรงแรมที่จะตัด Service Charge ให้พนักงงานครบทั้ง 100% แล้วให้ไปหารแบ่งกันตามที่เราเห็นบางโรงแรมได้กันหลักหมื่นปลายๆ เกือบครึ่งแสน แต่บางโรงแรมก็ได้หลักพันต้นๆ หรือพันปลายๆ ก็มี เพราะนโยบายการให้แต่ละที่ไม่เหมือนกันขึ้นอยู่กับแต่ละ Owner นั่นหมายความว่ามุมมองและแนวคิดของคนทั่วไปที่คิดว่า Service Charge เป็นเงินที่ตอบแทนให้พนักงานบริการทั้งหมดอาจไม่ได้เป็นแบบนั้นเสมอไป

โดยสรุปเลยตอนนี้ปัญหาการปฏิเสธไม่จ่ายค่า Service Charge แม้ยังเป็นประเด็นย่อยๆ อยู่ในสังคมโดยเฉพาะในวงการร้านอาหารแต่วงการโรงแรมที่ดูเหมือนไม่น่าจะมีปัญหาเท่าเพราะเราอยู่กับค่า Service Charge มาอย่างยาวนานในอุตสาหกรรมหลักของประเทศและแขกค่อนข้างคุ้นเคยอยู่กับแต่ก็ต้องจับตามองประเด็นนี้เหมือนกันนะครับเผื่อวันหนึ่งมันอาจจะมาถึงอุตสาหกรรมเรา

Reference ข้อมูลเพิ่ม
-https://www.ocpb.go.th/.../art.../article_20171129100703.pdf

- https://www.rd.go.th/27717.html

- มีกรณีอินเดียที่น่าสนใจเพราะทางการสั่งร้านอาหารและโรงแรมห้ามคิดค่า Service Charge แต่นั่นคือกรณีที่เป็นการเรียกเก็บโดยไม่แจ้งให้ทราบล่วงหน้าจนลูกค้ารู้สึกว่าไม่เป็นธรรม https://www.matichonweekly.com/hot-news/article_575134

หมายเหตุ: ข้อความทั้งหมดอ้างอิงแหล่งที่มาตาม Reference และไม่ได้เป็นบรรทัดฐานใดๆ ทางกฎหมายเป็นเพียงความคิดและการแสดงทรรศนะส่วนบุคคลเท่านั้น

#hotelman #hotelmantravel #hotelblogger#hotelstay #hoteljob #hotelstaff #hotelstay#hotelbusiness

ก่อนอื่นต้องขอแสดงความเสียใจกับผู้สูญเสียในเหตุการณ์ที่หนองบัวลำภูทุกท่านด้วยครับ



ปัจจุบันนี้ด้วยสภาพสังคม เศรษฐกิจ การการใช้ชีวิต ค่อนข้างเปลี่ยนไปมาก เหตุการณ์แบบนี้เริ่มเกิดบ่อยขึ้น ในมุมของพนักงานโรงแรมเองจากที่ปัจจุบันนี้เรามีการ Training เกี่ยวกับความปลอดภัยกันอยู่แล้วในเรื่องของ

- First Aid 
- การอพยพหนีไฟ การจัดการกรณีเพลิงไหม้

เพื่อเป็นทักษะในการดูแลตัวเอง แขก และเพื่อนร่วมงานในกรณีที่เกิดเหตุดังกล่าว ณ ตอนนี้น่าจะต้องมีอีกการ Training หนึ่งเพิ่มเข้าไปนั่นคือกรณีของมาตรการจัดการหากเกิดเหตุ Active Shooter ในพื้นที่โรงแรมเพราะต้องยอมรับว่าโรงแรมก็เป็นอีกหนึ่งสถานที่ซึ่งในวันหนึ่งต้องให้บริการแขกมากหน้าหลายตา การเฝ้าระวัง การป้องกัน และการบริหารจัดการสถานการณ์ที่เกี่ยวกับการเกิด Active Shooter เป็นอีกทักษะหนึ่งเช่นกันที่ควรจะต้องมีไว้เพื่อดูแลตนเอง แขก และเพื่อนร่วมงาน

ประเด็นนี้น่าจะเป็นอีกหนึ่งอย่างที่ตอกย้ำว่าบุคคลากรในอุตสาหกรรมโรงแรม (และอาจจะอุตสาหกรรมอื่น) ปัจจุบันนี้ต้องมีการ Up Skill กันทุกอย่าง ในประเด็นนี้ย่อมเกี่ยวข้องกับฝ่าย Security และ Loss & Prevention ก็ต้องเริ่มมองหามาตรการป้องกันและวิธีการจัดการเกี่ยวกับกรณีนี้กันไว้ล่วงหน้าเพื่อใช้บริหารจัดการกรณีเกิดเหตุตามขอบเขตที่ตนเองนั้นทำได้

สำหรับการเอาตัวรอดจากเหตุกราดยิงอ้างอิงข้อมูลจาก รศ.นพ.รัฐพลี ภาคอรรถ ศัลยแพทย์และอาจารย์จากภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ (https://www.chula.ac.th/cuinside/27394/) จุฬาฯ ชี้แนวทางสำคัญในการเอาตัวรอดเมื่อเกิดเหตุการณ์กราดยิงว่า ควรยึดหลักตาม Hartford Consensus หรือหลักการเอาตัวรอดในยามเกิดวิกฤติ ซึ่งแบ่งเป็น RUN HIDE FIGHT (หนี ซ่อน สู้) โดยเรียงลำดับความสำคัญตามลำดับ โดยมีวิธีดังนี้ (https://www.thairath.co.th/lifestyle/life/2464164)

การหลบหนี (Run)
- หนีจากที่เกิดเหตุให้เร็วที่สุด โดยสังเกตทางเข้าออกและจดจำทางเข้าออกให้แม่นยำ

- วางแผนและเตรียมพร้อมในการหลบหนีออกจากสถานที่นั้นอย่างรวดเร็วที่สุด พยายามหลีกเลี่ยงเส้นทางหนีที่คับแคบ

- มีสติอยู่เสมอขณะหลบหนี และควรทิ้งสิ่งของหรือสัมภาระทั้งหมดเพื่อการหลบหนีที่คล่องตัว และหากเป็นไปได้ควรช่วยเหลือคนรอบตัวให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้

การหลบซ่อน (Hide)
ในกรณีที่ไม่สามารถหลบหนีได้ควรหาที่หลบซ่อนเพื่อให้รอดพ้นสายตาของผู้ก่อเหตุให้มากที่สุด โดยมีวิธีดังนี้

- ปิดไฟมืด ปิดเครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์สื่อสารที่ทำให้เกิดเสียง เช่น ทีวี วิทยุ เปลี่ยนโหมดโทรศัพท์มือถือเป็นระบบสั่น

- หากมีหน้าต่างหรือประตู ให้ปิดม่านพร้อมล็อกประตูให้แน่นหนาที่สุด
การหลบซ่อนที่ดีคือควรแอบอยู่หลังหรือใต้โต๊ะหรือตู้ที่แข็งแรง
พยายามหลีกเลี่ยงที่อับปิดตาย และไม่ควรอยู่ใกล้ที่เสี่ยงอันตราย เช่น ริมหน้าต่าง ริมประตู กระจก

- หากหลบซ่อนอยู่หลายคน พยายามกระจายพื้นที่หลบซ่อนให้มากที่สุด และพยายามขอความช่วยเหลือโดยไม่ต้องใช้เสียง เช่น ส่งข้อความขอความช่วยเหลือผ่านทาง SMS หรือ Line

การต่อสู้ (Fight)
หากอยู่ในสถานการณ์คับขันที่ไม่สามารถหลบหนีหรือซ่อนตัวได้ วิธีสุดท้ายในการเอาตัวรอดคือการต่อสู้โดยใช้สติและกำลังทั้งหมดที่มี โดยมองหา

- จุดบอดของผู้ก่อเหตุให้ได้ หากอยู่รวมกันหลายคนควรช่วยกันต่อสู้เพื่อให้ผู้ก่อเหตุบาดเจ็บให้มากที่สุด นอกจากนี้ สิ่งที่ไม่ควรทำคือการร้องอ้อนวอนขอชีวิต เพราะมักไม่ได้ผล ในทางกลับกันยิ่งกระตุ้นให้ผู้ก่อเหตุตื่นตัวมากขึ้นกว่าเดิม

การเตรียมพร้อมรับมือเหตุกราดยิง
- ควรรู้เบอร์โทรศัพท์ที่จำเป็นเพื่อใช้ในเหตุฉุกเฉิน เช่น 191, 1669 หรือโหลดแอปพลิเคชันช่วยเหลือฉุกเฉินอย่าง จส.100 เพื่อแจ้งเหตุฉุกเฉินในหลายๆ ช่องทาง

- ควรรับมือการฝึกอบรมปฐมพยาบาลสำหรับอุบัติเหตุ อบรมการห้ามเลือด อบรมการช่วยชีวิตเบื้องต้น เพื่อรับมือกับเหตุการณ์ไม่คาดคิด
ก่อนออกจากบ้านควรชาร์จแบตเตอรี่โทรศัพท์ให้เต็มและมีแบตเตอรี่กับสายชาร์จสำรองพร้อมใช้เสมอ

- บอกที่มาและที่ไปพร้อมเวลากลับแก่คนที่บ้านหรือคนใกล้ชิดเสมอ เพื่อให้สามารถช่วยเหลือในเวลาฉุกเฉินได้

นอกจากนี้แล้วเราควรมี Situation awareness คือเมื่อเวลาไปไหนให้สังเกตทางหนีทีไล่ของเรา อย่างน้อยก็ต้องดูไว้ว่าทางเข้าออกของสถานที่ที่เราไปมีกี่ทาง อยู่บริเวณไหน เควรสังเกตสถานการณ์ผิดปกติ เช่น มีเสียงดังผิดปกติ มีควันไฟ แสงสว่างจ้า หรือระเบิด ไฟดับ มีคนวิ่งหนีผิดปกติ เป็นต้น จากนั้นควรพิจารณาทิศทางการหลบหนี และหนีให้พ้นจากสถานที่เกิดเหตุให้ไกลที่สุด สละทิ้งของที่ไม่จำเป็น เพราะชีวิตมีค่ามากกว่าสิ่งของ ก่อนถึงจุดปลอดภัยค่อยโทรศัพท์ขอความช่วยเหลือ หรือแจ้งเจ้าหน้าที่ตำรวจ

เนื่องด้วยธุรกิจโรงแรมเป็นสถานที่ซึ่งเป็นศูนย์รวมของหลากหลายการเตรียมความพร้อมไว้ล่วงหน้าจึงเป็นสิ่งที่สำคัญและหากบุคคลากรของโรงแรมมีความพร้อมก็จะช่วยบรรเทาความสูญเสียที่อาจเกิดขึ้นได้บ้างไม่มากก็น้อย ปัจจุบันนี้มีหน่วยงานที่ให้ความรู้เกี่ยวกับฝึกอบรมทักษะการจัดการกรณี Active Shooter ซึ่งเราสามารถติดต่อเพื่อขอคำปรึกษาหรือการจัด Course Training ร่วมกันได้

#hotelman #hotelmantravel #hotelblogger#hotelstay #hotelroom #hotelbusiness#hoteljob #hotelstaff

ขอแสดงความยินดีกับชาว Kempinski ทุกคนด้วยนะครับ

Kempinski Spa ได้รับรางวัล World Spa Awards 2022



World Spa Awards ได้ประกาศผู้ชนะของโปรแกรม 2022: ผลปรากฎว่ามีโรงแรม Kempinski 9 แห่งจากทั่วทุกมุมโลกโลกได้รับการพิสูจน์แล้วว่าเป็น "ผู้นำในการให้บริการโดยนักบำบัดชั้นนำพร้อมทั้งสิ่งอำนวยความสะดวกในระดับไฮเอนด์ซึ่งให้บริการในสปาอันหรูหราของพวกเขา" และนอกจากนี้โรงแรม Kempinski ทั้ง 9 แห่งยังได้รับรางวัลเป็นโรงแรม/รีสอร์ทสปาที่ดีที่สุดในปี 2022 ในแต่ละประเทศที่ตนเองดำเนินธุรกิจอยู่
รางวัล World Spa Awards เปิดตัวในปี 2015 ในฐานะส่วนหนึ่งของงาน "World Travel Awards" โดยมีเป้าหมายเพื่อขับเคลื่อนมาตรฐานด้านสปาและการท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพ ผู้เข้าประกวดที่ได้รับการเสนอชื่อจะได้รับการโหวตจากผู้ที่เป็นมืออาชีพที่ทำงานในอุตสาหกรรมสปา, ผู้บริหารระดับสูง, ผู้ซื้อการเดินทาง, ผู้ประกอบการท่องเที่ยว, ตัวแทน และสื่อ โดยสาธารณะ
สำหรับโรงแรมทั้ง 9 แห่งของ Kempinski ที่ได้รับรางวัลประกอบด้วย
1. Egypt's Best Hotel Spa 2022: Resense Spa at Royal Maxim Palace Kempinski Cairo
2. Ghana's Best Hotel Spa 2022: Resense Spa at Kempinski Hotel Gold Coast City Accra
3. China's Best Hotel Spa 2022: Kempinski The Spa at Kempinski Hotel Fuzhou
4. Dominica's Best Resort Spa 2022: Kempinski The Spa at Cabrits Resort & Spa Kempinski
5. Bulgaria's Best Hotel Spa 2022: Kempinski The Spa at Kempinski Hotel Grand Arena Bansko
6. Jordan's Best Hotel Spa 2022: The Ishtar Spa by Resense at Kempinski Hotel Ishtar Dead Sea
7. Lebanon's Best Hotel Spa 2022: Resense Spa at Kempinski Summerland Hotel & Resort Beirut
8. Switzerland's Best Resort Spa 2022: The Spa at Kempinski Palace Engelberg
9. Cuba's Best Hotel Spa 2022: Spa Albear by Resense at Gran Hotel Manzana Kempinski La Habana
สำหรับเครือ Kempinski Hotels ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2440 เป็นกลุ่มโรงแรมหรูที่เก่าแก่ที่สุดของยุโรป ปัจจุบัน Kempinski Group มีโรงแรมและ Residence 81 แห่ง ใน 35 ประเทศ และปัจจุบันมีโครงการกว่า 26 โครงการที่อยู่ระหว่างการพัฒนาทั่วโลก
Source:
Eva-Maria Panzer · Senior Director Corporate Public Relations
Kempinski Hotels · 10, Rue Henriette-et-Jeanne Rath · 1204 Geneva · Switzerland

คุ้ยเขี่ย

เคยมีครั้งหนึ่งที่เฮียได้รับแจ้งจากแขกว่า "ของหายในห้องพัก" พอขึ้นไปสอบถามแขกว่าอะไรหายเพื่อขอรายละเอียดและวางแผนค้นหาให้ แขกอธิบายมาว่า "เป็นกระปุกใส่แคปซูลสมุนไพรที่เขาซื้อมา" วางไว้ข้างถังขยะเขาจะเอาที่เหลือกลับประเทศ หลังรับทราบข้อมูลมาอันดับแรกจากประสบการณ์ที่เคยเจอเฮียบอกกับตัวเองได้เลยว่าข้อสันนิษฐานแรกคือ "โดนทิ้งลงขยะไปเรียบร้อยแล้วแน่ๆ"
จากนั้นก็ทำการติดต่อแม่บ้านจนเจอตัว Maid ที่ทำความสะอาดเฮียก็ลงไปสอบถามน้อง Maid ก็แจ้งมาว่า "ถ้าเป็นถุงนั้นหนูทิ้งไปแล้วเฮียเพราะหนูคิดว่าแขกน่าจะทิ้งแล้ว เห็นมันกองอยู่ข้างถังขยะในห้องข้างโต๊ะทำงานเลยนะเฮียแล้วกระปุกถูกเปิดฝาออกมาแล้ว ในถุงที่ใส่อยู่มีแคปซูลกระจายออกเต็มเลย มันปนอยู่กับเปลือกซองขนมอื่นด้วย ตอนแรกก็กะจะเก็บใส่ถุงแล้ววางไว้บนโต๊ะแต่ก็กลัวแขกจะว่าเอาขยะขึ้นมาทำไมก็เลยทิ้งไปแล้วค่ะ" คือตรงนี้ก็น่าเห็นใจนะแม้เราจะระวังและไม่คิดแทนแขกว่าอันไหนทิ้งอันไหนไม่ทิ้งและระมัดระวังการทิ้งแต่ละครั้งให้ชัวร์ว่ามันเป็นขยะจริงๆ และจะไปยุ่งไปจัดกับของเค้ามากก็ไม่ได้อีกเดี๋ยวหายมาก็จะมีปัญหาแต่เคราะห์หามยามซวยก็จะเจอเคสแบบนี้กันได้บ้างแล
หลังจากนั้นเฮียกับน้องแม่บ้านต้องมานั่งคำนวณกันโดยลงไปที่ห้องขยะแล้วก็ต้องมาหากันว่า "ถุงไหนทิ้งมาจาก Floor ไหน" เพื่อจำกัดการค้นหาให้แคบลงพอเจอแล้วว่าถุงนี้มาจาก Floor ที่แขกพักก็เริ่มต้นการคุ้ยเขี่ยกันอย่างเมามันเลย จนสุดท้ายก็เจอไอ้ถุงที่ว่า แล้วเฮียก็เอาของออกมาดูสภาพก่อนซึ่งก็เหมือนที่น้องมันอธิบายแหละมีกระปุกยาสมุนไพรแล้วก็แคปซูลอื่นๆ พร้อมเปลือกซองขนมอื่นๆ เฮียก็เลยขึ้นมาแล้วโทรไปแจ้งแขกว่า "ชั้นเจอของที่หายไปแล้วนะแต่มันถูกทิ้งไปแล้วในถังขยะ ยังไงตรงนี้เราจะรับผิดชอบโดยซื้ออันใหม่ให้นะ" โชคดีมากที่แขกแจ้งกลับมาว่า "ไม่เป็นไร เดี๋ยวเค้าไปซื้อใหม่เองแต่ขอเอาของพวกนั้นขึ้นมาให้หน่อยจะดูเป็นตัวอย่าง" เฮียก็จัดแจงเอาขึ้นไปให้แล้วก็ขอโทษแขกอีกที
ใครเคยเจอประสบการณ์ดีๆ แบบนี่กันมั่งไหม?

บทความแนะนำ