การปฏิเสธการจ่าย Service Charge
สืบเนื่องจากกรณี "การปฏิเสธการจ่าย Service Charge" และพยายามสร้างบรรทัดฐานใหม่ให้กับการที่ผู้คน "ปฏิเสธการจ่ายค่า Service Charge ในร้านอาหาร" ถึงขั้นที่อยากให้มีการตัดสินคดีที่ไม่จ่ายค่า Service Charge เพื่อเป็นบรรทัดฐานของกรณีนี้" พร้อมเกิดการตั้งข้อสังเกตมากมายเกี่ยวกับการไม่สมควรมีค่า Service Charge ในร้านอาหาร (และอาจจะรวมถึงธุรกิจอื่นๆ)
ซึ่งเรื่องนี้ถ้าจำกันได้เราเคยมีการพูดคุยกันมาก่อนหน้านั้นแล้วเพียงแต่มันไม่ค่อยเจอในอุตสาหกรรมโรงแรมที่แขกส่วนใหญ่เข้าใจดีอยู่แล้ว (แต่อาจมีบ้างที่ปฏิเสธการจ่าย) ในการชำระราคาค่าห้องพักรวมกับ Service Charge และ VAT แต่สิ่งที่ไม่แน่นอนคือหากเรื่องนี้กลายเป็น Viral และเป็นกระแสสังคมที่จะเกิดการปฏิบัติกันมากขึ้นก็ไม่แน่ว่าประเด็นนี้อาจมีถึงธุรกิจโรงแรมอย่างเราๆ ได้เหมือนกันนะครับและนั่นอาจส่งผลกระทบต่อ Service Charge ที่เราได้ๆ กันอยู่ในแต่ละเดือนด้วยเช่นกัน ซึ่งประเด็นที่อยากพูดถึงเกี่ยวกับเรื่องนี้และอยากชวนทุกคนมาพูดคุยกันเป็นเรื่องของ "การที่ผู้บริโภค (แขก) จะปฏิเสธไม่จ่าย Service Charge" ได้หรือไม่?
1. ประเด็นการเรียกเก็บค่า Service Charge ปัจจุบันนี้กฎหมายไม่ได้มีข้อกำหนดว่า "ห้าม" เรียกเก็บค่า Service Charge เพียงแต่ตามข้อกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคของกรมการค้าภายในตามประกาศ เรื่องการต้องแสดงราคาสินค้าหรือบริการ ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ พ.ศ. 2542 ได้กำหนดอัตราการเรียกเก็บสูงสุดไว้ที่ "ห้ามเกิน 10%" เราจึงได้เห็นอัตราการเรียกเก็บในอุตสาหกรรมโรงแรมในอัตรานี้กันอย่างแพร่หลายถ้าจะว่ากันตามถูกผิดคือถ้าเรียกเก็บเกินอัตรานี้ย่อมไม่ถูกต้องตามที่กฏหมายกำหนดอย่างแน่นอนและเป็นเหตุให้ปฏิเสธการเรียกเก็บได้แต่ส่วนใหญ่โรงแรมเราก็ไม่เคยเก็บกันเกินอัตรานี้อยู่แล้ว
2. การเรียกเก็บ Service Charge อ้างอิงข้อกฎหมายเดียวกัน การที่เราจะเรียกเก็บค่า Service Charge นั้น ต้องมีการแจ้งอย่างชัดเจน ทั้งอัตราที่เรียกเก็บที่จะต้องแสดงให้ผู้บริโภคเห็นเป็นตัวเลขและข้อความอย่างชัดเจนแม้ไม่ได้ระบุว่าต้องติดตั้งอยู่ที่ใดแต่ก็ต้องให้เห็นได้ชัดเจนเพื่อให้ผู้บริโภคตัดสินใจก่อนใช้บริการว่า "ถ้ามีบริการนี้รวมอยู่ด้วยยินดีจะใช้บริการหรือไม่?"
3. ผู้บริโภคมีสิทธิปฏิเสธการจ่าย Service Charge ได้ไหม อันนี้ถ้าว่ากันตามจริงหากเรามีการแจ้งราคาว่ารวมค่า Service Charge เรียบร้อยแล้วอย่างชัดเจนก็ถือว่าผู้บริโภคยอมรับที่จะจ่ายราคาสินค้าและบริการตามนั้นเพราะหากไม่ต้องการชำระค่าบริการส่วนนี้ผู้บริโภคที่ได้รับการแจ้งเตือนจากผู้ประกอบการแล้วมีสิทธิเลือกที่จะไม่ใช้บริการได้ตั้งแต่แรกเริ่ม
- นอกจากนี้มีกรณีศึกษาในส่วนของ Service Charge ตามประกาศของกรมสรรพากรเลขที่หนังสือ: กค 0702/4116 ผู้ประกอบกิจการขายอาหารได้เรียกเก็บค่าบริการ (service charge) ในอัตราร้อยละของค่าอาหารจากผู้บริโภคที่มาใช้บริการ โดยได้เรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มและออกใบกำกับภาษีให้กับผู้บริโภค ค่าบริการดังกล่าวถือเป็นส่วนหนึ่งของค่าอาหารตามมาตรา 79 แห่งประมวลรัษฎากร เข้าลักษณะเป็นการให้บริการที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 77/1(10) แห่งประมวลรัษฎากรและถือเป็นรายได้ของกิจการหรือเกี่ยวเนื่องจากกิจการตามมาตรา 65 แห่งประมวลรัษฎากร ที่ต้องนำมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษี เงินได้นิติบุคคลตามประมวลรัษฎากร โดยผู้ประกอบกิจการจะต้องบันทึกบัญชีตามหลักการบัญชีที่ยอมรับกันโดยทั่วไป
4. ถ้าไม่จ่ายค่า Service Charge ผิดไหม? จริงๆ อยู่อย่างที่เราทราบกันดีว่าถ้าแจ้งแล้วว่ามี Service Charge รวมอยู่ในค่าบริการเรียบร้อยแล้วและผู้บริโภคตกลงใช้บริการถือว่ายอมรับแล้วถ้าคิดแบบไม่ซับซ้อนก็ถือว่าผู้ประกอบการไม่ได้ทำผิดอะไรในการเรียกเก็บตามอัตราที่กำหนด เพราะหากผู้บริโภคไม่ยอมรับก็มีสิทธิปฏิเสธการใช้บริการได้พูดง่ายๆ ก็คือ "แจ้งเรียบร้อยถูกต้องถ้ายอมรับก็ชำระตามยอดที่เรียกเก็บรวม Service Charge ถ้าไม่ยอมรับก็ไม่ใช้บริการ" แต่ก็มีในกรณีที่ทราบแล้วว่าเรียกเก็บแต่ก็ยังต้องการใช้บริการแต่ไม่อยากจ่ายค่า Service Charge ซึ่งกรณีนี้ส่วนตัวเฮียก็ยังไม่เคยเจอนะที่จะเข้าข่ายความผิดข้อหาอะไรตามกฎหมาย? จะเหมารวมเป็นการไม่จ่ายค่าบริการที่รวม Service Charge ประเภท "กินแล้วไม่จ่าย" เลยได้ไหม? อันนี้ก็ยังไม่มีข้อกฎหมายไหนออกมาชัดเจนเหมือนกันว่า "ผิดหรือไม่อย่างไรกับการไม่จ่ายค่า Service Charge แม้จะแจ้งเรียบร้อยตั้แต่แรกแล้วก็ตามว่าเรียกเก็บ"
5. การปฏิเสธอีกอย่างหนึ่งในการไม่จ่าย Service Charge คือ "การได้รับบริการที่ไม่ดี" อันนี้ก็ต้องว่ากันเป็นกรณีไปเพราะคำว่า "บริการที่ไม่ดี" ของแต่ละคนนั้นไม่เหมือนกัน
- มีรายละเอียดจากสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคอันหนึ่งที่ระบุว่า "หากพนักงาน ให้บริการไม่เป็นที่พอใจ ลูกค้าสามารถขอค่า service charge คืนได้ไหม จริงๆแล้วสถานที่ที่คิด service charge แพงเกินจริง หาเหตุผลไม่ได้ ภาครัฐมี พ.ร.บ. ว่าด้วยสินค้าและบริการ มาตรา 29 ควบคุม โดยระบุว่า ถ้าผู้ประกอบการขายจาหน่ายสินค้า ในลักษณะทาให้เกิดความปั่นป่วน สร้างกลไลการตลาดบิดเบี้ยว ราคาเกินจริง โดยชี้แจงสาเหตุที่เรียกเก็บราคาสูงเกินจริงไม่ได้ นั้น มีโทษจาคุกไม่เกิน 7 ปี ปรับไม่เกิน 1.4 แสนบาท หรือทั้งจาทั้งปรับ"
แต่ถ้าเรามองตามสถานการณ์ปกติในกรณีที่ถ้าคิดตามอัตราที่กฎหมายกำหนดและไม่เกินจริงการเรียกเก็บค่า Service Charge ก็น่าจะมีสิทธิทำได้ในมุมของผู้ประกอบการเช่นกัน
6. กรณีที่มองว่าเงิน Service Charge เป็นส่วนของพนักงาน ในความเป็นจริงสำหรับอุตสาหกรรมโรงแรมไม่ใช่ทุกโรงแรมที่จะตัด Service Charge ให้พนักงงานครบทั้ง 100% แล้วให้ไปหารแบ่งกันตามที่เราเห็นบางโรงแรมได้กันหลักหมื่นปลายๆ เกือบครึ่งแสน แต่บางโรงแรมก็ได้หลักพันต้นๆ หรือพันปลายๆ ก็มี เพราะนโยบายการให้แต่ละที่ไม่เหมือนกันขึ้นอยู่กับแต่ละ Owner นั่นหมายความว่ามุมมองและแนวคิดของคนทั่วไปที่คิดว่า Service Charge เป็นเงินที่ตอบแทนให้พนักงานบริการทั้งหมดอาจไม่ได้เป็นแบบนั้นเสมอไป
โดยสรุปเลยตอนนี้ปัญหาการปฏิเสธไม่จ่ายค่า Service Charge แม้ยังเป็นประเด็นย่อยๆ อยู่ในสังคมโดยเฉพาะในวงการร้านอาหารแต่วงการโรงแรมที่ดูเหมือนไม่น่าจะมีปัญหาเท่าเพราะเราอยู่กับค่า Service Charge มาอย่างยาวนานในอุตสาหกรรมหลักของประเทศและแขกค่อนข้างคุ้นเคยอยู่กับแต่ก็ต้องจับตามองประเด็นนี้เหมือนกันนะครับเผื่อวันหนึ่งมันอาจจะมาถึงอุตสาหกรรมเรา
Reference ข้อมูลเพิ่ม
-https://www.ocpb.go.th/.../art.../article_20171129100703.pdf
- https://www.rd.go.th/27717.html
- มีกรณีอินเดียที่น่าสนใจเพราะทางการสั่งร้านอาหารและโรงแรมห้ามคิดค่า Service Charge แต่นั่นคือกรณีที่เป็นการเรียกเก็บโดยไม่แจ้งให้ทราบล่วงหน้าจนลูกค้ารู้สึกว่าไม่เป็นธรรม https://www.matichonweekly.com/hot-news/article_575134
หมายเหตุ: ข้อความทั้งหมดอ้างอิงแหล่งที่มาตาม Reference และไม่ได้เป็นบรรทัดฐานใดๆ ทางกฎหมายเป็นเพียงความคิดและการแสดงทรรศนะส่วนบุคคลเท่านั้น
#hotelman #hotelmantravel #hotelblogger#hotelstay #hoteljob #hotelstaff #hotelstay#hotelbusiness