มีเรื่องเล่าเกี่ยวกับการปรับตัวที่น่าชื่นชมของสถานศึกษาการโรงแรม
วันนี้เฮียมีโอกาสได้คุยกับท่านอาจารย์ท่านหนึ่งจากมหาวิทยาลัยหนึ่งที่อุบลราชธานีอาจารย์มาปรึกษาว่า “คุณป๊อบถ้าจะเปลี่ยนชื่อหลักสูตรแบบนี้น่าสนใจไหมคะ?” บอกตามตรงตอนที่ได้ยินว่าจะปรับหลักสูตรเฮียดีใจมากเลยนะครับ (อันนี้ส่วนตัวนะ) เพราะส่วนตัวอย่างที่เฮียเคย Post ไปก่อนหน้านี้เฮียคิดว่า ณ ขณะนี้ที่อุตสาหกรรมการโรงแรมและการท่องเที่ยวกำลังแย่อยู่มันได้รับผลกระทบไปทุกภาคส่วนซึ่งสถาบันการศึกษาที่เกี่ยวกับการโรงแรมเองก็เป็นหนึ่งในนั้นการมีทักษะเดียวในอนาคตอาจจะไม่เพียงพออีกต่อไปภาพของสาขาการโรงแรมในมุมของผู้ปกครองที่จะส่งบุตรหลานมาเรียนก็คงจะมีคำถามเยอะว่า “จะมีโอกาสในอาชีพมากน้อยแค่ไหน?” ถ้าไม่นับก่อนหน้านั้นที่การโรงแรมและการท่องเที่ยวเฟื่องฟูมากจึงเกิดการเรียนการสอนสาขานี้ขึ้นในหลายมหาวิทยาลัยและวิทยาลัยที่เป็นการโรงแรมโดยเฉพาะที่แม้จะมีให้เลือกหลากหลายสาขาและจบมาทำได้หลากหลายทั้งงานโรงแรม เรือสำราญ อากาศยาน บริษัทนำเที่ยว แต่ด้วยความที่ทั้งหมดอยู่ในอุตสาหกรรมกรรมหลักคือการท่องเที่ยวตอนนี้เลยล้มกันไปเป็น Domino ที่มาพร้อมกับคำถามตัวโตว่า “สาขาการโรงแรมจะยังมีเด็กเข้ามาเรียนต่อหรือไม่?”
อาจารย์แนะนำชื่อหลักสูตรมาหลักสูตรหนึ่งซึ่งเฮียเห็นว่ามันยังคงยึดติดกับโรงแรมมากเกินไปเฮียเลยให้ความเห็นอาจารย์ไปว่า...จริงๆ แล้วถ้ายังใช้ชื่อนี้ก็ไม่ใช่ว่าจะไม่มีโอกาสเอาเสียเลยเพราะยังไงคนก็ไม่หยุดท่องเที่ยวและธุรกิจโรงแรมแค่รอวันที่จะกลับมาอีกครั้งเท่านั้นแต่ถ้าจะหวังผลในระยะใกล้นี้โดยวัดจากประสิทธิผลคือจำนวนเด็กที่เข้ามาเรียนมันน่าจะยังไม่ตอบโจทย์เท่าไหร่ด้วยปัจจัยด้านภาพลักษณ์ของการท่องเที่ยวที่มีผลต่อผู้ปกครองซึ่งเป็นคนจ่ายค่าเทอมการจะปรับหลักสูตรมีสิ่งที่ต้องทำเพิ่มเติมเข้าไปคือการพัฒนาให้เด็กได้ Multi Skill แบบบ Cross Industry คือเป็นทักษะแบบ “ข้ามอุตสาหกรรมไปเลย” แต่ยังคงอยู่ในอุตสาหกรรมบริการมันต้องเป็นอะไรที่ไม่ใช่แค่ Multi Skill แบบเดิมที่เราคุ้นเคยกันประเภท ทำ F/O แล้วมาทำ F&B ได้ มาทำ Sales ได้หรือทำงานใน Sector เดียวกันได้หมดทั้ง Operator, G.S.A, RSVN แต่อนาคตมันต้องเป็นการทำอะไรที่ได้มากกว่า
ซึ่งตัวนี้เฮียก็ให้คำแนะนำอาจารย์ไปว่า “เฮียยังมองว่า Wellness Industry” เป็นอีกหนึ่งทางออกที่น่าสนใจของน้องๆ นักศึกษา เราลองนึกภาพว่าธุรกิจบริการที่เน้นเรื่อง “การบริการดูแลเอาใจใส่แขกผู้เข้าพัก” สามารถปรับไปทำธุรกิจ “Wellness Industry ได้ไม่ยาก” เช่น การปรับเพิ่มจากการดูแลแขกมาเป็นการดูและผู้สูงอายุสอดรับกับ Trend ที่พักแบบ Day Care และ Nursing Home สำหรับผู้สูงอายุที่ไทยกำลังก้าวเข้าสู่ Aging Society การปรับเพิ่มทักษะ F&B มาเป็นหลักสูตรโภชนาการเพื่อความเป็น Wellness Food หรือแต่แต่ทักษะของ Sport & Recreation ที่ปรับมาเป็นการออกแบบ Course สอนโยคะหรือฟิตเนสที่เหมาะกับแต่ละช่วงอายุ
นึกภาพอีกอย่างว่าถ้าวันหนึ่งสาขาการโรงแรมที่เฮียแนะนำอาจารย์ว่าอาจจะปรับเป็นชื่อ “Hospitality & Wellness Management” มันเกิดขึ้นมาจริงๆ น้องๆ ที่เรียนจบได้ทักษะไป 2 อย่างทั้งทักษะที่สามารถทำงานในโรงแรมได้กับทักษะที่สามารถทำงานใน Wellness Center, Wellness Hotel/Resort ได้ นั่นหมายความว่า “ทางเลือกในอาชีพของน้องๆ จะมีมากกว่า 1 ทาง” ซึ่ง Multi Choice เป็นอีกอย่างที่จำเป็นสำหรับโลกในอนาคตเพราะบางครั้งเราไม่จำเป็นต้องมองโอกาสในชีวิตเพียงโอกาสเดียวแต่ควรเตรียมตัวให้พร้อมกับโอกาสอื่นๆ ที่อาจเข้ามาเคสนี้จะตอบคำถามผู้ปกครองได้ว่า “จบสาขานี้มาถ้าธุรกิจโรงแรมไม่ดีแล้วจะไปทำธุรกิจอะไร?” เพราะ Hotel กับ Wellness ถ้าธุรกิจหนึ่งมีปัญหาอีกธุรกิจสามารถทำแทนกันได้ประเทศไทยเรามีจุดแข็งมากมายด้านการรักษาพยาบาล อาหารการกิน ฯลฯ เอื้อต่อการเติบโตของ Wellness
และถ้าจะให้ Advance มากไปกว่านั้นซึ่งเฮียคิดว่าน่าจะเพิ่มมูลค่าให้สาขา Hospitality & Wellness Management ได้ดียิ่งขึ้นคือการบรรจุหลักสูตร “การบริบาล” เข้าไปด้วยเพราะหากน้องๆ เรียนจบเท่ากับว่าน้องจะมี Double Degree ทั้ง ปริญญาตรี และ ประกาศนียบัตรรับรองด้านการบริบาล (ซึ่งในทางปฏิบัติจำเป็นต้องร่วมมือกับภาควิชาชีพด้านการพยาบาล) เพิ่มโอกาสในสาย Wellness ได้อีกซึ่งที่เฮียค่อนข้างให้น้ำหนักและสนับสนุนอุตสาหกรรม Wellness เพราะก่อนหน้านี้เคยพูดถึง “โอกาส” ของธุรกิจนี้ในระดับมหภาคไปแล้วตามกระทู้นี้ https://www.facebook.com/Hotelman879/photos/a.481873871840611/3650909208270379/
เฮียเชื่อเป็นอย่างยิ่งว่าวิกฤตนี้ทำให้หลายๆ ภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับการโรงแรมต้องปรับตัวสถานศึกษาเองโดยปกติก็กำลังเสี่ยงที่จะถูก Disruption จาก Platform การเรียนรู้ออนไลน์อื่นๆ ทั้งฟรีและเสียเงินในเวลาอันใกล้นี้กอปรกับปัจจุบันเด็กๆ สามารถหาความรู้ได้อย่างอิสระในโลกออนไลน์ดังนั้นทางหนึ่งของสถานศึกษาที่จะต้องปรับตัวคือ “ทำให้เด็กเห็นว่าการมาเรียนในสถาบันแตกต่างจากการหาความรู้ได้ด้วยตนเอง”
บทสนทนาของเฮียกับอาจารย์ท่านนี้เป็นแค่เบื้องต้นที่เราคุยและปรึกษากันทั้งนี้ในระบบการศึกษาไทยการจะปรับหลักสูตรคงมีขั้นตอนและการวางแผนอีกมากแต่ถ้าสถานศึกษาการโรงแรมต่างๆยังไม่ปรับตัวตอนนี้เฮียก็ยังไม่เห็นทางออกของปัญหาที่เด็กที่เลือกเรียนการโรงแรมจะน้อยลงไปเรื่อยๆ จนกว่าสถานการณ์โรงแรมจะกลับมาซึ่ง ณ ตอนนั้นยังมีอีกหลายเรื่องราวที่ท้าทาย เช่น เทคโนโลยีในอุตสาหกรรมโรงแรมที่ยังไม่มีการพูดถึงมากนักไม่จำเป็นว่าต้องเป็น Wellness แต่การเพิ่มทักษะอื่นๆ เข้าไป เช่น Digital Marketing, Storytelling, ฯลฯ ที่จะมาเป็นตัวเลือกให้เด็กเพิ่มเติมว่าถ้าไม่ทำงานโรงแรมก็สามารถทำงานสายอื่นๆ ได้มากกว่าอุตสาหกรรมท่องเที่ยวก็เป็นอีกอย่างหนึ่งที่น่าสนใจไม่แพ้กัน “โลกหมุนเร็วสิ่งที่สำคัญที่เราตัองปรับตัวให้เร็วตามโลก”
หากบทสนทนาของเฮียกับอาจารย์ท่านนี้ตกผลึกและมหาวิทยาลัยเลือกซื้อ Idea นี้เพื่อนำไปต่อยอดเชื่อว่าถ้าเริ่มปรับตัวในตอนนี้น่าจะเป็นต้นทุนในการเป็นผู้นำในการปรับหลักสูตรการโรงแรมในมิติใหม่ในอนาคตของมหาวิทยาลัยนี้ครับและหากทำสำเร็จภาพการเป็นผู้นำหลักสูตรจะพุ่งตรงมาที่มหาวิทยาลัยนี้อย่างแน่นอนและจะยิ่งเห็นภาพชัดเจนขึ้นเมื่อสถานการณ์กลับมาเป็นปกติเช่นเดิม
อย่างน้อยเฮียก็ดีใจที่ได้มีโอกาสแนะนำแนวทางให้สถาบันการศึกษาในการปรับหลักสูตรการโรงแรมไปสู่รูปแบบใหม่เพื่อประโยชน์ของสถาบันการศึกษาเองและประโยชน์ของเด็กและขอบคุณท่านอาจารย์ทุกท่านของมหาวิทยาลัยนี้ที่มองเห็นความสำคัญในการต้องปรับตัวเพื่อประโยชน์ของน้องๆ นักศึกษาทุกคนครับขอบคุณอาจารย์ที่คิดถึงเฮียและให้เกียรติติดต่อมาขอคำแนะนำครับ
N. Kamolpollapat
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น